ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับรายวิชา
ทักษะการอ่านเป็นหนึ่งทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ตลอดเวลา เราต่างต้องพบเจอบทอ่านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น บทอ่านขนาดสั้น ๆ ในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงบทอ่านขนาดยาวทั้งที่เป็นบทอ่านให้ความรู้ หรือบทอ่านบันเทิงคดี แต่ไม่ว่าจะเป็นบทอ่านประเภทใดก็ตาม ผู้อ่านล้วนแต่ต้องใช้ทักษะการอ่านจับใจความทั้งสิ้น สำหรับการอ่านจับใจความมีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตและการเรียนรู้โดยเฉพาะการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการอ่านที่ผู้อ่านจะต้องค้นหาเนื้อหาสาระของเรื่องที่อ่านเพื่อให้ทราบถึงสาระสำคัญหรือความคิดหลักที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อสารทั้งในแต่ละย่อหน้าหรือตลอดทั้งเรื่อง เนื้อหาในรายวิชานี้จึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจวิธีการอ่านจับใจความเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการอ่านจับใจความบทอ่านประเภทต่าง ๆ อันจะเป็นประโยชน์และเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ต่อไป
เนื้อหารายวิชา
หัวข้อวิชา การอ่านจับใจความ ประกอบด้วย
บทที่ 1 ความหมายของใจความและพลความ
บทที่ 2 ประเภทของใจความ
บทที่ 3 ตำแหน่งของใจความ
บทที่ 4 วิธีการหาใจความ
บทที่ 5 การอ่านจับใจความ
บทที่ 6 การอ่านสรุปสาระสำคัญ (Part 1)
บทที่ 7 การอ่านสรุปสาระสำคัญ (part 2) (แบบฝึกหัด)
บทที่ 8 การเขียนสรุปสาระสำคัญ
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนอ่านจับใจความในแต่ละย่อหน้าได้
2. เพื่อให้ผู้เรียนสรุปสาระสำคัญของบทอ่านขนาดยาวได้
หมายเหตุ
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
อาจารย์ผู้สอน
สถาบันภาษาไทยสิรินธร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย