ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับรายวิชา
วิชา เศรษฐกิจเกษตร จะนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กับการเกษตร โครงสร้างเศรษฐกิจการเกษตรของไทย การผลิต การจัดการผลผลิต การตลาดสินค้าการเกษตร การวิเคราะห์การตลาด การจัดการสินค้า กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แบบจำลองการผลิต ระบบอุปสงค์และอุปทาน ปัจจัยของราคาและปริมาณของสินค้า สหกรณ์การเกษตร สินเชื่อการเกษตร การจัดการสินค้าการเกษตร การแปรรูปสินค้าเกษตร เป็นต้นเพื่อเป็นการแผยแพร่องค์ความรู้ด้านการจัดการการเกษตรให้แก่ นิสิต นักศึกษา และประชาชนที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้เพื่อใช้ประกอบการทำงาน
เนื้อหารายวิชา
หัวข้อวิชา เศรษฐกิจเกษตร (Agricultural Economics) ประกอบด้วย
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เกษตรเบื้องต้น
บทที่ 3 การจัดการผลผลิต
บทที่ 4 การตลาดสินค้าการเกษตร
บทที่ 5 นโยบายและองค์กรด้านการเกษตร
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำหลักเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์กับการเกษตรและธุรกิจการเกษตร
3. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ความสัมพันธ์เกี่ยวกับ สหกรณ์การเกษตร สินเชื่อการเกษตร การจัดการและการแปรรูปสินค้าเกษตร
4. และกฎหมายการค้าสินค้าการเกษตรของไทยและกฎหมายระหว่างประเทศ
5. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหาและแนวทางแก้ไขด้านเกษตรในประเทศไทย
หมายเหตุ
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
อาจารย์ผู้สอน
ผศ. ดร.วริพัสย์ เจียมปัญญารัช
สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย