ระบบประกันสุขภาพ

  • โดย : คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รหัส : CHULAMOOC5007
  • หมู่ :
    สุขภาพ
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 5
  • เริ่มลงทะเบียน 5 มกราคม 2567
  • สิ้นสุดการเรียน 29 กุมภาพันธ์ 2567
รุ่นที่ 4
  • เริ่มลงทะเบียน 1 กันยายน 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 31 ตุลาคม 2566
รุ่นที่ 3
  • เริ่มลงทะเบียน 4 มีนาคม 2565
  • สิ้นสุดการเรียน 30 เมษายน 2565
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 10 เมษายน 2563
  • สิ้นสุดการเรียน 31 พฤษภาคม 2563
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 8 พฤศจิกายน 2562
  • สิ้นสุดการเรียน 31 มกราคม 2563
เนื้อหา
3 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

ประเทศไทยมี พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตั้งแต่ พ.ศ. 2545 โดยประชาชนทุกคนล้วนอยู่ภายใต้หลักประกันสุขภาพแบบใดแบบหนึ่ง แต่ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงและทราบถึงหลักการเบื้องต้นของหลักประกันสุขภาพนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และครบถ้วน รวมถึงไม่เข้าใจวิธีการ ขั้นตอนการขอรับการบริการ ภายใต้ระบบประกันสุขภาพเหล่านั้นด้วยเช่นกัน สำหรับวิชา Health Insurance System : ระบบประกันสุขภาพ จะมีเนื้อหานำเสนอเกี่ยวกับหลักการประกันสุขภาพ การแบ่งประเภทของประกันสุขภาพ องค์ประกอบในการประกันสุขภาพ และการเข้าถึงการประกันสุขภาพในประเทศไทย การตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล ขั้นตอนการเข้ารับการรักษาพยาบาล และสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนต่อไป

เนื้อหารายวิชา

    เนื้อหาในรายวิชา ระบบประกันสุขภาพ ประกอบด้วย

    บทที่ 1 หลักการของการประกันสุขภาพ

    บทที่ 2 องค์ประกอบของการประกันสุขภาพ

    บทที่ 3 การเข้าถึงประกันสุขภาพในประเทศไทย

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจหลักการและองค์ประกอบของระบบประกันสุขภาพ ตลอดจนเหตุผลเบื้องหลังการจัดการภายใต้ระบบประกันสุขภาพ

    2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงบริการภายใต้ระบบประกันสุขภาพแบบต่างๆ ในประเทศไทย

    3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้เกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพนำไปใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพ

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • รศ. ร.ต.ท.หญิง ภญ. ดร.ภูรี อนันตโชติ

    • ภาควิชาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร (นานาชาติ)

      คณะเภสัชศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ผศ. ภญ. ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ

    • ภาควิชาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร (นานาชาติ)

      คณะเภสัชศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ