ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับรายวิชา
วิชา การตรวจคุณภาพสมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC จะกล่าวถึงเนื้อหาเกี่ยวกับมาตรฐานและการควบคุมคุณภาพสมุนไพร เทคนิคการตรวจอัตลักษณ์ของสมุนไพรในงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพร หลักการและเทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟี เทคนิคการแยกสารด้วย TLC ขั้นตอนและเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ทางเคมีด้วยเทคนิค TLC/HPTLC การอ่านและแปลผลการทดสอบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อประยุกต์ใช้การตรวจสอบคุณภาพสมุนไพร หลักการตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ (method validation) สมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC การค้นคว้าและการเลือกใช้แหล่งอ้างอิงในการวิเคราะห์สมุนไพร และหลักการพัฒนาวิธีวิเคราะห์สมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC โดยปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรไทยมาใช้ในการผลิตภัณฑ์หลายๆ อย่างเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสมุนไพรมีสรรพคุณที่ดีไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ทั้งนี้หากผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญได้มีการเลือกนำสมุนไพรมาใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการชำระล้างสารพิษออกจากร่างกาย ลดอาการอักเสบของผิวหนังลดรอยเหี่ยวย่น ทำให้ผิวขาวใส ดังนั้นหากมีการเรียนรู้ รวมทั้งขั้นตอนการดำเนินงานที่ถูกต้องและเหมาะสมเผยแพร่แก่ประชาชนที่สนใจเพื่อสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื้อหารายวิชา
เนื้อหารายวิชา การตรวจคุณภาพสมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC ประกอบด้วย
บทที่ 1 มาตรฐานและการควบคุมคุณภาพสมุนไพร
บทที่ 2 เทคนิคการตรวจอัตลักษณ์ของสมุนไพร ในงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพร
บทที่ 3 หลักการและเทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟี
บทที่ 4 เทคนิคการแยกสารด้วยเทคนิค TLC
บทที่ 5 ขั้นตอนและเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ทางเคมีด้วยเทคนิค TLC/HPTLC
บทที่ 6 การอ่านและแปลผลการทดสอบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อประยุกต์ใช้การตรวจสอบคุณภาพสมุนไพร
บทที่ 7 หลักการตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ (method validation) สมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC
บทที่ 8 แหล่งข้อมูลอ้างอิงและการอ่านโมโนกราฟสมุนไพร
บทที่ 9 หลักการพัฒนาวิธีวิเคราะห์สมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะเป็นคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 100 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
วัตถุประสงค์
1. สามารถอธิบายความสำคัญของการตรวจคุณภาพสมุนไพรที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้
2. สามารถระบุวิธีพื้นฐานการตรวจเอกลักษณ์สมุนไพรและอธิบายหลักการและการใช้วิธีทางโครมาโทกราฟีในงานวิเคราะห์
3. สามารถอธิบายเทคนิค ขั้นตอนวิธีการ อ่านและแปลผลวิเคราะห์จากสถานการณ์จำลองได้ถูกต้อง การใช้เครื่องมือในการตรวจคุณภาพสมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC ที่ต่างจากวิธีอื่น
4. สามารถอธิบายการนำเทคนิค HPTLC ไปใช้ประโยชน์และต่อยอดเพื่อการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ในงานตรวจคุณภาพสมุนไพร
หมายเหตุ
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้มากกว่า 1 ครั้ง หรือจนกว่าจะสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด และได้รับ Certificate
อาจารย์ผู้สอน
ศ. ดร.วันชัย ดีเอกนามกูล
ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ. ภญ. ดร.สรกนก วิมลมั่งคั่ง
ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. ภญ. ดร.ทักษิณา ชวนอาษา
ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. ภญ. ดร.วิชชุดา ธนกิจเจริญพัฒน์
ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อ. ภญ.จีรภัทร์ ดวงฉวี
ภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี
คณะเภสัชศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย