ความปลอดภัยด้านสิ่งส่งตรวจ รังสีวิทยาและทันตกรรม

  • โดย : ทีมคณาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รหัส : CHULAMOOC5028
  • หมู่ :
    สุขภาพ
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 4 กุมภาพันธ์ 2565
  • สิ้นสุดการเรียน 31 มีนาคม 2565
เนื้อหา
3 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

วิชาความปลอดภัยด้านสิ่งส่งตรวจ รังสีวิทยาและทันตกรรม จะนำเสนอความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วยในแง่ของประชาชนทั่วไปที่ควรรู้และตระหนัก เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพในโรงพยาบาล การเฝ้าสังเกตอาการ การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ ข้อควรรู้และควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วย เนื้อหาวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเตรียมตัวในการตรวจ และติดตามผลเพื่อความปลอดภัย ปลอดโรค ปลอดข้อสงสัย ในทุกกรณี

หัวข้อวิชา ความปลอดภัยด้านสิ่งส่งตรวจ รังสีวิทยาและทันตกรรม

บทที่ 1 การเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตัวเองอย่างไรให้ได้ผลตรวจที่มีคุณภาพมากที่สุด

1.1 การเก็บปัสสาวะ

1.2 การเก็บอุจจาระ

1.3 การเก็บเสมหะ

บทที่ 2 การตรวจทางรังสีวิทยา

2.1 มารู้จักการตรวจทางรังสีวิทยาและการตรวจทางรังสีวิทยาแต่ละชนิด

2.2 การตรวจทางรังสีวิทยาแต่ละชนิด part 1

2.3 การตรวจทางรังสีวิทยาแต่ละชนิด part 2

2.4 การเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนการตรวจและอันตรายจากรังสี

บทที่ 3 ข้อควรรู้เกี่ยวกับทันตกรรม

3.1 การเตรียมตัวก่อนการมารับทันตกรรม

3.2 วิธีการทำความสะอาดฟัน (การแปรงพันและไหมขัดฟัน)

3.3 กรณีใดต้องพบทันตแพทย์ฉุกเฉิน

3.4 ความปลอดภัยของเครื่องมือทันตกรรม

3.5 การดูแลตนเองระหว่างจัดฟันและหลังจัดฟัน

3.6 ข้อควรปฏิบัติในช่วงโควิด-19

วัตถุประสงค์

    1. อธิบายบทบาทของความปลอดภัยของผู้ป่วยในการลดอุบัติการณ์และผลกระทบให้เหลือน้อยที่สุด รวมถึงวิธีการแก้ไข
    2. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านมนุษย์และความปลอดภัยของผู้ป่วย การคิดอย่างเป็นระบบ หลักการปรับปรุงคุณภาพ
    3. อธิบายความสำคัญของการปฏิบัติงานเป็นทีม เทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสม
    4. อธิบายธรรมชาติของความผิดพลาดและวิธีการนำหลักการจัดการความเสี่ยงมาใช้
    5. อธิบายวิธีการที่ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถปฏิบัติงานเป็นพันธมิตรในการดูแลผู้ป่วย
    6. อธิบายผลกระทบจากการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อที่ไม่มีประสิทธิภาพ เหตุการณ์ที่ไม่พึง ประสงค์ที่เกิดขึ้นในการทำหัตถการที่รุกล้ำ
    7. อธิบายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ยา

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

หมายเหตุ

    1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
    2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • ทีมคณาจารย์
    • คณะแพทยศาสตร์
    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • ทีมคณาจารย์
    • คณะสหเวชศาสตร์
    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • ทีมคณาจารย์
    • คณะเภสัชศาสตร์
    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • ทีมคณาจารย์
    • คณะทันตแพทยศาสตร์
    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ