การแสดงเบื้องต้นสำหรับทุกคน

  • โดย : ผศ. ดร.กฤษณะ พันธุ์เพ็ง
  • รหัส : CHULAMOOC4015
  • หมู่ :
    ศิลปะและการพัฒนาตนเอง
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 3
  • เริ่มลงทะเบียน 8 มีนาคม 2567
  • สิ้นสุดการเรียน 30 เมษายน 2567
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 3 มีนาคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 30 เมษายน 2566
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 3 กันยายน 2564
  • สิ้นสุดการเรียน 31 ตุลาคม 2564
เนื้อหา
14 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

รายวิชา การแสดงเบื้องต้นสำหรับทุกคน เนื้อหาวิชาจะนำเสนอเกี่ยวกับศิลปะการแสดงในระดับเบื้องต้น โดยให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของการแสดง การพัฒนาทักษะที่จำเป็น การฝึกฝนสำหรับนักแสดง การสร้างสรรค์ตัวละคร การวิเคราะห์ตัวละคร การซ้อมและสร้างฉากการแสดงอย่างสั้น โดยผู้เรียนจะได้มีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานการแสดงเดี่ยวของตัวเอง (Monologue) และได้บันทึกการแสดงผ่านกล้องถ่ายวิดีโอ การเรียนการสอนในวิชาจะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันใน Facebook Group โดยผู้เรียนจะได้รับทักษะทางด้านการสื่อสารผ่านร่างกายและเสียงเพื่อถ่ายทอดความรู้สึก ความคิด และลักษณะนิสัยของตัวละครที่เพิ่มมากขึ้น สามารถสื่อสารหลักการและทักษะพื้นฐานในการเป็นนักแสดงได้ และสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครและการแสดงได้อย่างมีหลักการและสร้างสรรค์

เนื้อหารายวิชา

    หัวข้อวิชา การแสดงเบื้องต้นสำหรับทุกคน ประกอบด้วย

    บทที่ 1 แนะนำรายวิชา และผู้สอน

    บทที่ 2 VOX POP การแสดงที่ดูแล้วรู้สึกประทับใจเป็นอย่างไร

    บทที่ 3 องค์ประกอบหลักของการแสดงละคร

    บทที่ 4 ส่วนประกอบของการเป็นนักแสดง

    บทที่ 5 หลักในการสร้างเรื่องและตัวละครที่มีเอกลักษณ์

    บทที่ 6 หลักการวิเคราะห์ตัวละครในเชิงสัจนิยมเชิงจิตวิทยา

    บทที่ 7 วิเคราะห์การแสดง

    บทที่ 8 VOX POP นักแสดงที่ดีต้องมีทักษะอะไรบ้าง

    บทที่ 9 แบบฝึกหัดในการฝึกฝนทางร่างกาย การรับรู้และสติ

    บทที่ 10 แบบฝึกหัดในการฝึกฝนการใช้เสียง

    บทที่ 11 การพัฒนาบทพูดเพื่อการแสดงเดี่ยว

    บทที่ 12 ข้อแนะนำในการซ้อมการแสดงอย่างมีประสิทธิภาพ

    บทที่ 13 การบันทึกการแสดง และการเผยแพร่ผลงาน

    บทที่ 14 แนวทางในการซ้อมการแสดง

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์การแสดงเดี่ยวขนาดสั้นได้

    2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการและทักษะพื้นฐานในการเป็นนักแสดงได้

    3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครและการแสดงได้อย่างมีหลักการและสร้างสรรค์

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • ผศ. ดร.กฤษณะ พันธุ์เพ็ง

    • ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง
      คณะนิเทศศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ