พลศาสตร์กระบวนการและการควบคุม

  • โดย : ศ. ดร.พรพจน์ เปี่ยมสมบูรณ์ และ รศ. ดร.ประพันธ์ คูชลธารา
  • รหัส : CHULAMOOC2005
  • หมู่ :
    เทคโนโลยี
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 4
  • เริ่มลงทะเบียน 2 สิงหาคม 2567
  • สิ้นสุดการเรียน 30 กันยายน 2567
รุ่นที่ 3
  • เริ่มลงทะเบียน 4 สิงหาคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 30 กันยายน 2566
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน พฤศจิกายน 2563
  • สิ้นสุดการเรียน 31 ธันวาคม 2563
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน มกราคม 2563
  • สิ้นสุดการเรียน 29 กุมภาพันธ์ 2563
เนื้อหา
8 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมด ให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

พลศาสตร์กระบวนการและการควบคุมProcess Dynamics & Control เนื้อหาจะเป็นการสร้างและใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์มาอธิบายพฤติกรรมกระบวนการในอุตสาหกรรมเคมี และนำข้อมูลพฤติกรรมของกระบวนการเหล่านั้นไปใช้ในการออกแบบระบบควบคุมกระบวนการนั้นๆ เพื่อให้ตอบสนองตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้นิสิตและผู้เรียนสามารถสร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์และสร้างระบบควบคุมอย่างง่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

เนื้อหารายวิชา

    รายวิชา พลศาสตร์กระบวนการและการควบคุม ประกอบด้วย

    บทที่ 1 Introduction to Process Control and Control Concept 

    บทที่ 2 Control Configuration 

    บทที่ 3 Process-dynamic Behaviors 

    บทที่ 4 Introduction to Matlab for Process Simulation 

    บทที่ 5 Empirical Modeling 

    บทที่ 6 Control Valve Characteristic 

    บทที่ 7 Closed Loop Transfer Function 

    บทที่ 8 Controller Gain, Poles and Systems Responses  

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะเป็นคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 100 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายพฤติกรรมของกระบวนการได้ 

    2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สำหรับตัวแทนของกระบวนการเหล่านั้น 

    3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกแบบและจำลองการตอบสนองของกระบวนการเมื่อมีระบบควบคุม 

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • ศ. ดร.พรพจน์ เปี่ยมสมบูรณ์

    • ภาควิชาเคมีเทคนิค

      คณะวิทยาศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • รศ. ดร.ประพันธ์ คูชลธารา

    • ภาควิชาเคมีเทคนิค

      คณะวิทยาศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ