ความรู้เรื่องดวงตาสำหรับบุคลากรทางการแพทย์

  • โดย : คณาจารย์จากภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รหัส : CHULAMOOC5034
  • หมู่ :
    สุขภาพ
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 6 ตุลาคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 30 พฤศจิกายน 2566
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 2 ธันวาคม 2565
  • สิ้นสุดการเรียน 31 มกราคม 2566
เนื้อหา
8 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

วิชา ความรู้เรื่องดวงตาสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ จะนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง  

1. สารเคมีเข้าตา เมื่อเรียนจบจะเข้าใจถึงการป้องกันที่ถูกต้องและการปฏิบัติตัวกรณีพบผู้ป่วยสารเคมีเข้าดวงตา 

2. อุบัติเหตุทางตา เมื่อเรียนจบจะเข้าใจถึงนิยามของการบาดเจ็บทางดวงตาชนิดต่างๆและวิธีการปฐมพยาบาลและรักษาเบื้องต้น รวมถึงการรักษาที่ไม่ได้ผลจริงแต่มีการอวดอ้างในปัจจุบัน  

3. การซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วยโรคทางตา เมื่อเรียนจบจะสามารถซักประวัติและตรวจคัดกรองการมองเห็น ความดันตา การมองเห็นสี ลานสายตา และความสำคัญของการตรวจ 

4. การสูญเสียการมองเห็นฉับพลัน เมื่อเรียนจบจะเข้าใจถึงสาเหตุของการสูญเสียการมองเห็น การซักประวัติที่สำคัญ การตรวจร่างกายเบื้องต้น และการส่งต่อผู้ป่วยที่เหมาะสม 

5. การสูญเสียการมองเห็นเรื้อรัง เมื่อเรียนจบจะเข้าใจถึงสาเหตุของการสูญเสียการมองเห็น การซักประวัติที่สำคัญ การตรวจร่างกายเบื้องต้น และการส่งต่อผู้ป่วยที่เหมาะสม  

6. ตาแดง เมื่อเรียนจบจะเข้าใจถึงนิยามของโรคและวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมถึงการรักษาที่ไม่ได้ผลจริงแต่มีการอวดอ้างในปัจจุบัน 

7. ยาหยอดตาที่ใช้บ่อย เมื่อเรียนจบจะเข้าใจการทำงานของดวงตาและยาหยอดตาที่ใช้บ่อย และวิธีการหยอดยาอย่างถูกวิธี 

8. สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง สายตายืด เมื่อเรียนจบจะเข้าใจถึงนิยามของสายตาผิดปกติแบบต่างๆ  และวิธีการรักษา รวมถึงการเลือกแว่นสายตาโดยคร่าวๆ 

เนื้อหารายวิชา

    หัวข้อวิชา ความรู้เรื่องดวงตาสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ประกอบด้วย

    บทที่ 1 สารเคมีเข้าตา

    บทที่ 2 อุบัติเหตุทางตา

    บทที่ 3 การซักประวัติและการตรวจร่างกายผู้ป่วยโรคทางตา

    บทที่ 4 การสูญเสียการมองเห็นเฉียบพลัน

    บทที่ 5 การสูญเสียการมองเห็นเรื้อรัง

    บทที่ 6 โรคตาแดง

    บทที่ 7 ยาหยอดตาที่ใช้บ่อย

    บทที่ 8 การดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัดและการทำหัตถการทางตา

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป จึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์มีความรู้เกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยทางตา

    2. เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถปฐมพยาบาลขั้นต้นเมื่อพบผู้ป่วยโรคต่างๆ ทางตา

    3. เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถตรวจคัดกรองการมองเห็นและความดันตา เพื่อป้องกันภาวะสูญเสียสายตาถาวรจากโรคต่างๆ ที่สามารถทำการรักษาได้ถ้าวินิจฉัยได้ตั้งแต่เริ่มต้น

    4. เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชน ไม่ถูกหลอกลวงจากโฆษณาหรือการอ้างสรรพคุณเกินจริงของสินค้าต่างๆที่มีอยู่อย่างมากมายในปัจจุบัน

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • รศ. พญ.เปรมจิต เศาณานนท์ 

    • ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • อ. พญ.กิติยา รัตนวงศ์ไพบูลย์

    • ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ผศ. (พิเศษ) นพ.สุภณัฐ อภิญญาวสีสุข

    • ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ผศ. (พิเศษ) พญ.วรรณกรณ์ พฤกษากร

    • ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ