จริยธรรมการวิจัยในคน

  • โดย : คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน กลุ่มสหสถาบัน ชุดที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รหัส : CHULAMOOC4021
  • หมู่ :
    ศิลปะและการพัฒนาตนเอง
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 5 พฤษภาคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 30 มิถุนายน 2566
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 4 พฤศจิกายน 2565
  • สิ้นสุดการเรียน 31 ธันวาคม 2565
เนื้อหา
8 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

รายวิชา จริยธรรมการวิจัยในคน มีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักสากลของจริยธรรมการวิจัย ซึ่งคำนึงถึงผู้มีส่วนรวมการวิจัยเป็นหลักและสังคมที่เกี่ยวข้อง คือ ให้เกียรติและให้ได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมวิจัย พร้อมทั้งมีมาตรการป้องกันอันตราย และการช่วยเหลือเมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น และคำนึงถึงประโยชน์ที่สังคมจะได้รับ นอกจากนี้สามารถตัดสินใจได้ว่าการวิจัยใดสมควรดำเนินการหรือไม่สมควรดำเนินการ พร้อมทั้ง หลักการของการบริหารจัดการการวิจัยให้ถูกต้องตามหลัก วิทยาศาสตร์ สังคม และมนุษยศาสตร์ คือ สามารถพิสูจน์ความเป็นจริงได้ ทักษะที่ได้จากการเรียนวิชานี้ คือ สามารถพัฒนาโครงการวิจัยได้สมบูรณ์ โดยผ่านการรับรองจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน และได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย สำหรับประชาชนทั่วไปจะได้ทราบข้อพึงระมัดระวัง และสิทธิที่พึงได้ในการเข้าร่วมวิจัย

เนื้อหารายวิชา

    หัวข้อวิชา จริยธรรมการวิจัยในคน ประกอบด้วย

    บทที่ 1 มาตรฐานสากล

    บทที่ 2 Good Clinical Practice

    บทที่ 3 Risk & Benefits

    บทที่ 4 กระบวนการยื่นขอรับพิจารณาจริยธรรมในการวิจัย

    บทที่ 5 ความรับผิดชอบของนักวิจัย

    บทที่ 6 กระบวนการขอความยินยอม

    บทที่ 7 ความเป็นส่วนตัวและการรักษาความลับ

    บทที่ 8 การวิจัยในกลุ่มเปราะบาง

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. มีความรู้เกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ทางจริยธรรมการวิจัยในคน

    2. นำความรู้ไปใช้ในการดำเนินการวิจัยทั้งทางด้านวิชาการและการบริหารจัดการ

    3. สามารถวิเคราะห์ได้ว่าประเด็นใดขัดต่อจริยธรรมการวิจัยในคน

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • รศ. ดร.นันทรี ชัยชนะวงศาโรจน์

    • คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน กลุ่มสหสถาบัน ชุดที่ 1

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • รศ. นพ.ปรีดา ทัศนประดิษฐ์

    • คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน กลุ่มสหสถาบัน ชุดที่ 1

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ผศ. ดร.ระวีนันท์ มิ่งภัคนีย์

    • คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน กลุ่มสหสถาบัน ชุดที่ 1

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ