EMCC22 : I will survive in Emergency Medicine

  • โดย : ทีมคณาจารย์จากภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • รหัส : CHULAMOOC5019
  • หมู่ :
    สุขภาพ
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 4 ธันวาคม 2563
  • สิ้นสุดการเรียน 31 มกราคม 2564
เนื้อหา
8 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
สำหรับผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม นิสิต/นักศึกษาแพทย์ และบุคลากรทางเวชศาสตร์ฉุกเฉิน จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

วิชา EMCC2020 : I will survive in Emergency Medicine จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการนำสื่อความรู้ที่จัดเผยแพร่ผ่านงานประชุมวิชาการจากประสบการณ์ในด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ได้แก่

  1. ความรู้ในด้านการดูแลรักษาผู้ป่วย มีการปรับปรุงความรู้ล่าสุดของแนวทางการรักษา ซึ่งบรรยายโดยแพทย์เฉพาะทางด้านสาขาต่าง ๆ ได้แก่ ภาวะฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลและการขนส่งเคลื่อนย้ายผู้ป่วย, ภาวะการมีเหตุรวบรวมมวลชน (Mass Gathering), ภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช, โรคลมชัก, โรคถุงลมโป่งพองกำเริบ, ภาวะติดเชื้อรุนแรง, และการกู้ชีพขั้นสูงอย่างมีประสิทธิภาพ

  2. ด้านการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ได้แก่ การใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแก่ห้องฉุกเฉิน, การบริหารจัดการในกรณีที่ผู้ป่วยมีจำนวนมากเกินทรัพยากรที่มี, การเริ่มต้นจัดตั้งระบบการแพทย์ฉุกเฉินในโรงพยาบาล และการรับมือกับปัญหาความเสี่ยงด้านกฎหมายอาจเกิดขึ้นในแผนก

เนื้อหารายวิชา

    หัวข้อวิชา EMCC2020 : I will survive in Emergency Medicine

    

    บทที่ 1: How to survive with new evidence

    บทที่ 2: I will Survive with the new Technology 

    บทที่ 3: I will survive working in the ER

    บทที่ 4: I will survive resuscitating my patients

    บทที่ 5: I will survive working with specialists 

    บทที่ 6: I will survive in the prehospital phase 

    บทที่ 7: I will survive the new guidelines 

    บทที่ 8 : I will survive real-life practice

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดูแลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ ทั้งก่อนถึงโรงพยาบาลและในห้องฉุกเฉินด้วยความรู้ที่ทันสมัยล่าสุด
    2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในการจัดตั้งและบริหารระบบการแพทย์ฉุกเฉินในโรงพยาบาลของตนได้อย่างสมบูรณ์ยิ่ง

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • คณะแพทยศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

    • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

คอร์สแนะนำ