สุขภาพดีในภาวะโลกร้อน

  • โดย : คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รหัส : CHULAMOOC5012
  • หมู่ :
    สุขภาพ
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 4
  • เริ่มลงทะเบียน 8 มีนาคม 2567
  • สิ้นสุดการเรียน 30 เมษายน 2567
รุ่นที่ 3
  • เริ่มลงทะเบียน 5 พฤษภาคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 30 มิถุนายน 2566
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 5 กุมภาพันธ์ 2564
  • สิ้นสุดการเรียน 31 มีนาคม 2564
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 19 มีนาคม 2563
  • สิ้นสุดการเรียน 31 พฤษภาคม 2563
เนื้อหา
5 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

รายวิชา สุขภาพดีในภาวะโลกร้อน (Health in Global Warming) จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้เรื่องสาเหตุโลกร้อน และผลกระทบต่อสุขภาพ การป้องกันการแพร่ระบาดของพาหะนำโรค เชื้อโรคที่มีผลจากภาวะโลกร้อน ปัญหาสุขภาพกับภาวะโลกร้อน และการจัดการ ภาวะอาหารเป็นพิษ การสร้างสุขภาพกายและสุขภาพจิต การจัดการด้านอารมณ์และจิตใจ การดูแลเรื่องสุขาภิบาลอาหาร และสุขอนามัย และสุดท้ายเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณขยะ และสารพิษตกค้าง

เนื้อหารายวิชา

    เนื้อหาในรายวิชา สุขภาพดีในภาวะโลกร้อน ประกอบด้วย

    บทที่ 1 ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพ เราจะลดภาวะโลกร้อนได้อย่างไร

    บทที่ 2 กลไกการเกิดปัญหาสุขภาพจากภาวะโลกร้อนและการจัดการ

    บทที่ 3 สุขอนามัยที่ดีมีผลกับสุขภาพ

    บทที่ 4 มาตรฐานตลาด อาหารปลอดภัย สุขลักษณะที่ดี

    บทที่ 5 รักษาสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณขยะและสารพิษตกค้าง

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนสร้างสุขอนามัยที่ดี เพื่อสุขภาพกาย – สุขภาพจิตดี

    2. เพื่อให้ผู้เรียนรู้สาเหตุการแพร่ระบาดของเชื้อโรคและพาหนะนำโรคในภาวะที่โลกร้อนขึ้น

    3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดูแลสุขภาพร่างกาย ป้องกันโรคได้โดยไม่ต้องพึ่งพายา (ใช้ยาเฉพาะที่จำเป็น)

    4. เพื่อให้ผู้เรียนเลือกบริโภคอาหาร น้ำดื่มที่ปลอดภัยและมีสุขาภิบาลอาหารที่ดี

    5. เพื่อให้ผู้เรียนรักษาอนามัยสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณขยะ ส่งเสริมการใช้สารชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมี

    6. เพื่อให้ปลุกจิตสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รักษ์ป่า ให้ผู้เรียน เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • รศ. ภญ.ดร.มะลิ วิโรจน์แสงทอง

    • ภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • รศ. ภก.ดร.พิสิฐ เขมาวุฆฒ์

    • ภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • รศ.สัตถาพร สิโรตมรัตน์

    • ภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • อ. ภก.ดร.วีระพงษ์ ประสงค์จีน

    • ภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • อ. ดร.กรรณิกา ขันธศุภ

    • ภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ