การพัฒนาทักษะชีวิต

  • โดย : ผศ. ดร.ธนสิน ชุตินธรานนท์, อ. ดร.รับขวัญ ภูษาแก้ว และ อ. ดร.อัจฉราวรรณ จันทร์เพ็ญศรี
  • รหัส : CHULAMOOC4011
  • หมู่ :
    ศิลปะและการพัฒนาตนเอง
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 5
  • เริ่มลงทะเบียน 5 มกราคม 2567
  • สิ้นสุดการเรียน 29 กุมภาพันธ์ 2567
รุ่นที่ 4
  • เริ่มลงทะเบียน 7 กรกฎาคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 31 สิงหาคม 2566
รุ่นที่ 3
  • เริ่มลงทะเบียน 6 พฤษภาคม 2565
  • สิ้นสุดการเรียน 30 มิถุนายน 2565
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 4 มิถุนายน 2564
  • สิ้นสุดการเรียน 31 กรกฎาคม 2564
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 9 พฤศจิกายน 2563
  • สิ้นสุดการเรียน 31 มกราคม 2564
เนื้อหา
7 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน นิสิต นักศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

รายวิชา การพัฒนาทักษะชีวิต (Life Skills Development) จะมีเนื้อหาเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจพัฒนาตนเองในด้าน ทักษะชีวิต ผ่านการสื่อสารภายในตนเองและการแนะแนว สำหรับเนื้อหาทั้งหมด ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การสื่อสารภายในตนเอง การแนะแนวเบื้องต้น และการทำสมุดแปลนชีวิต

เนื้อหารายวิชา

    เนื้อหาในรายวิชา การพัฒนาทักษะชีวิต ประกอบด้วย

    บทที่ 1 Introduction

    บทที่ 2 ปริทัศน์การแนะแนวเบื้องต้น

    บทที่ 3 การแนะแนวตามบริบทสถานศึกษากับการพัฒนาทักษะชีวิต

    บทที่ 4 ปริทัศน์การสื่อสารภายในตนเอง

    บทที่ 5 การประยุกต์ใช้การสื่อสารภายในตนเองสำหรับเยาวชนเพื่อการพัฒนาทักษะชีวิต

    บทที่ 6 ปริทัศน์การใช้สมุดแปลนชีวิต

    บทที่ 7 การประยุกต์ใช้สมุดแปลนชีวิตเพื่อการพัฒนาทักษะชีวิต

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะเป็นคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 100 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการแนะแนวเบื้องต้นให้แก่ผู้เรียน

    2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะการสื่อสารภายในตนเองผู้เรียนได้

    3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้สมุดแปลนชีวิตในสถานศึกษาได้อย่างเหมาะสม

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • ผศ. ดร.ธนสิน ชุตินธรานนท์

    • ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง

      คณะนิเทศศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • อ. ดร.รับขวัญ ภูษาแก้ว

    • หัวหน้าศูนย์แนะแนว

    • โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม

    • อ. ดร.อัจฉราวรรณ จันทร์เพ็ญศรี

    • กรรมการและเลขานุการมูลนิธิพัฒนาทักษะชีวิต

คอร์สแนะนำ