สังคมผู้สูงอายุและการดูแลสุขภาพช่องปาก

  • โดย : รศ. ทพญ. ดร.อรพินท์ โคมิน และคณะ
  • รหัส : CHULAMOOC5013
  • หมู่ :
    สุขภาพ
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

เปิดล่าสุด
รุ่นที่ 4
  • เริ่มลงทะเบียน 5 เมษายน 2567
  • สิ้นสุดการเรียน 31 พฤษภาคม 2567
รุ่นที่ 3
  • เริ่มลงทะเบียน 7 เมษายน 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 30 มิถุนายน 2566
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 1 กรกฎาคม 2565
  • สิ้นสุดการเรียน 31 สิงหาคม 2565
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 3 เมษายน 2563
  • สิ้นสุดการเรียน 31 พฤษภาคม 2563
เนื้อหา
10 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา นักเรียน และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมด ให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

รายวิชา สังคมผู้สูงอายุและการดูแลสุขภาพช่องปาก จะนำเสนอเกี่ยวกับสภาวะการเข้าสู่ของสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ความสำคัญของการเตรียมตัวรับมือของของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในฐานะบุคคลากรที่ทำงานด้านสาธารณสุข การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสภาพจิตใจ ที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพองค์รวม การเปลี่ยนแปลงของสุขสภาวะในช่องปาก การตรวจและการดูแลรักษา ในเรื่องของการให้การรักษาจะกล่าวถึงเนื้อหาทางทันตกรรมด้านต่าง ๆ ตลอดจนการออกแบบปรับปรุงสถานที่พักอาศัย การเปลี่ยนแปลงที่ให้บริการทางสาธารณสุข เพื่อให้ใช้งานได้ระยะยาว การอำนวยความสะดวกแก่สภาพร่างกายที่เปลี่ยนไป

เนื้อหารายวิชา

    รายวิชา สังคมผู้สูงอายุและการดูแลสุขภาพช่องปาก ประกอบด้วย

    บทที่ 1 บทนำเข้าสู่สังคมสูงอายุของประเทศไทย

    บทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในผู้สูงอายุ

    บทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจที่มีผลต่อการดูแลตนเอง และสุขภาพช่องปาก

    บทที่ 4 โรคของกล้ามเนื้อและระบบประสาท

    บทที่ 5 การกลืนและภาวะโภชนาการ

    บทที่ 6 การประเมินฟันผุในผู้สูงอายุ

    บทที่ 7 การแปรงฟัน และวิธีการเลือกวัสดุอุปกรณ์

    บทที่ 8 มุมมองทางสถาปัตยกรรม ต่อการเอื้อต่อสังคมผู้สูงอายุ

    บทที่่ 9 การออกกำลังกล้ามเนื้อเพื่อพัฒนาการกลืนและการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลิ้น

    บทที่ 10 บทสรุปงานทันตกรรมผู้สูงอายุ

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสุขภาวะในช่องปากที่เปลี่ยนไปเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ

    2. เพื่อให้ตระหนักถึงผลกระทบของการรักษาโรคทางระบบต่อสุขภาพองค์รวมและสุขภาพช่องปาก

    3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกวัสดุอุปกรณ์ในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • รศ. ทพญ. ดร.อรพินท์ โคมิน

    • ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์

      คณะทันตแพทยศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์

    • ภาควิชาเคหกร

      คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • รศ. นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย

    • ภาควิชาจิตเวชศาสตร์

      คณะแพทยศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ทพ.สหพรหม นามะโน

    • ทพ.ชานน สุวรรณประพิศ

    • ทญ.ชรินญา กาญจนเสวี