ความปกติใหม่ในอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทย (BIM)

  • โดย : รศ. ดร.วีระศักดิ์ ลิขิตเรืองศิลป์ และ รศ.กวีไกร ศรีหิรัญ
  • รหัส : CHULAMOOC2011
  • หมู่ :
    เทคโนโลยี
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 3
  • เริ่มลงทะเบียน 7 กรกฎาคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 31 สิงหาคม 2566
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 2 ธันวาคม 2565
  • สิ้นสุดการเรียน 31 มกราคม 2566
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 2 กรกฎาคม 2564
  • สิ้นสุดการเรียนถึง 31 สิงหาคม 2564
เนื้อหา
6 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

วิชา ความปกติใหม่ในอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทย (BIM) เนื้อหาวิชานี้จะนำเสนอเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศในงานก่อสร้างและการจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling (BIM) for Construction 4.0) การประยุกต์ใช้ BIM ในขั้นตอนต่างๆ ของโครงการก่อสร้าง ประเภทของแบบจำลอง BIM การวางแผนและการนำ BIM ไปใช้งาน เทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับการจัดการสารสนเทศอาคาร เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ BIM ในการวางแผนและบริหารโครงการก่อสร้างได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

เนื้อหารายวิชา

    หัวข้อวิชา ความปกติใหม่ในอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทย A New Normal in the Thai Construction Industry (BIM) ประกอบด้วย


    บทที่ 1 คืออะไร (What is BIM?)

    บทที่ 2 สำหรับโครงการก่อสร้าง (BIM for Construction Projects)

    บทที่ 3 สำหรับการออกแบบ (BIM for Design)

    บทที่ 4 การนำ BIM ไปใช้ในโครงการก่อสร้าง (BIM Implementation in Construction Projects)

    บทที่ 5 สำหรับการบริหารจัดการอาคาร (BIM for Facility Management)

    บทที่ 6 เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ในงานก่อสร้าง (Modern Digital Technologies in Construction)

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของ BIM

    2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวางแผนและนำ BIM ไปใช้ในโครงการก่อสร้างได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • รศ. ดร.วีระศักดิ์ ลิขิตเรืองศิลป์

    • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
      คณะวิศวกรรมศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • รศ.กวีไกร ศรีหิรัญ

    • ภาควิชาสถาปัตยกรรม
      คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ