ประกันสังคมนั้นสำคัญไฉน

  • โดย : ศ. นพ. ดร.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล, คุณนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ และ คุณเกตุธริน ไชยศรี
  • รหัส : CHULAMOOC4010
  • หมู่ :
    ศิลปะและการพัฒนาตนเอง
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

เปิดล่าสุด
รุ่นที่ 5
  • เริ่มลงทะเบียน 10 มกราคม 2568
  • สิ้นสุดการเรียน 28 กุมภาพันธ์ 2568
รุ่นที่ 4
  • เริ่มลงทะเบียน 6 กันยายน 2567
  • สิ้นสุดการเรียน 31 ตุลาคม 2567
รุ่นที่ 3
  • เริ่มลงทะเบียน 1 กันยายน 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 31 ตุลาคม 2566
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 5 พฤศจิกายน 2564
  • สิ้นสุดการเรียน 31 ธันวาคม 2564
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 25 กันยายน 2563
  • สิ้นสุดการเรียน 30 พฤศจิกายน 2563
เนื้อหา
6 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

รายวิชา ประกันสังคมนั้นสำคัญไฉน เป็นวิชาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมกับสำนักงานประกันสังคม เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจภาพรวมเกี่ยวกับเรื่องการประกันตนเองที่จะได้รับจากกองทุนประกันสังคม โดยจะกล่าวถึง ประวัติความเป็นมา หลักการ แนวความคิดการประกันสังคม รวมถึงการได้รับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนตามแต่ละมาตราอย่างละเอียด เพื่อให้ลูกจ้าง นายจ้าง และผู้ประกอบอาชีพอิสระ นำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์แก่ตนเองได้อย่างเหมาะสม

เนื้อหารายวิชา

    เนื้อหารายวิชา ประกันสังคมนั้นสำคัญไฉน ประกอบด้วย

    บทที่ 1 หลักการประกันสังคม

    บทที่ 2 ประวัติการประกันสังคม

    บทที่ 3 ประวัติการประกันสังคมไทย

    บทที่ 4 ความยั่งยืนของระบบประกันสังคม

    บทที่ 5 ประเภทของผู้ประกันตนและสิทธิประโยชน์

    บทที่ 6 คำถามที่พบบ่อย

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะเป็นคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 100 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถดาวน์โหลด Certificate บนหน้ารายวิชาได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประกันสังคมเพิ่มมากขึ้น

    2. เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้เรื่องผู้ประกันตนที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • ศ. นพ. ดร.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล

    • ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม

      คณะแพทยศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • คุณนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์

    • ผู้ตรวจราชการกรม

    • สำนักงานประกันสังคม

    • คุณเกตุธริน ไชยศรี

    • ผู้ตรวจราชการกรม

    • สำนักงานประกันสังคม