ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับรายวิชา
รายวิชา การสำรวจปิโตรเลียม จะนำเสนอเกี่ยวกับระบบปิโตรเลียม ข้อมูลที่ใช้ในการสำรวจปิโตรเลียม การสำรวจปิโตรเลียมเบื้องต้น รวมถึงการใช้ซอฟต์แวร์การแปลความหมายทั้งธรณีวิทยา และธรณีฟิสิกส์ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการทำงานจากข้อมูลจริง เพิ่มพูนความรู้จากศาสตร์ที่เกี่ยวข้องไปพร้อม ๆ กัน อย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งจะสามารถทำให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหา วิเคราะห์และดำเนินการการสำรวจปิโตรเลียมได้
เนื้อหารายวิชา
หัวข้อวิชา การสำรวจปิโตรเลียม ประกอบด้วย
บทที่ 1 ระบบปิโตรเลียม คืออะไร
บทที่ 2 หินต้นกำเนิด
บทที่ 3 หินกักเก็บ
บทที่ 4 การเคลื่อนย้ายโครงสร้างกักเก็บและหินปิดกั้น
บทที่ 5 ข้อมูลที่ใช้ในการสำรวจปิโตรเลียม
บทที่ 6 การสำรวจปิโตรเลียมเบื้องต้น
บทที่ 7 การแปลความหมายข้อมูลหลุมเจาะเบื้องต้น
บทที่ 8 การแปลความหมายข้อมูลคลื่นไหวสะเทือนเบื้องต้น
บทที่ 9 การหาพื้นที่ที่มีศักยภาพและการคำนวณปริมาณปิโตรเลียม
บทที่ 10 ปิโตรเลียมในประเทศไทย
บทที่ 11 อนาคตอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบถึงแนวคิดเทคโนโลยี และขั้นตอนการสำรวจปิโตรเลียม
2. เพื่อให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการการสำรวจปิโตรเลียม ผ่านข้อมูลธรณีวิทยา และข้อมูลธรณีฟิสิกส์
หมายเหตุ
อาจารย์ผู้สอน
รศ. ดร.ปิยพงษ์ เชนร้าย
ภาควิชาธรณีวิทยา
คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย