ผู้พิทักษ์ป่าต้นน้ำ

  • โดย : ผศ.ชูพงศ์ ปัญจมะวัต, ดร.พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล และ คุณวิชญ์วิสิฐ ธิราชรัมย์
  • รหัส : CHULAMOOC4016
  • หมู่ :
    ศิลปะและการพัฒนาตนเอง
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 3
  • เริ่มลงทะเบียน 6 กันยายน 2567
  • สิ้นสุดการเรียน 31 ตุลาคม 2567
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 1 กันยายน 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 31 ตุลาคม 2566
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 1 ตุลาคม 2564
  • สิ้นสุดการเรียน 30 พฤศจิกายน 2564
เนื้อหา
3 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

รายวิชา ผู้พิทักษ์ป่าต้นน้ำ จะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับปัญหาน้ำบ่าไหลหลากในช่วงฤดูฝน กับปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง องค์ประกอบของระบบนิเวศต้นน้ำ ความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ำ และป่าไม้ ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพอากาศ การหมุนรอบตัวเองของโลก กับการเคลื่อนที่ของลม ชนิดของเมฆ และเมฆฝน การให้บริการของน้ำท่าที่ไหลในลำธารของระบบนิเวศป่าต้นน้ำ การกัดชะพังทลายของดิน และงานวิจัยท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา

เนื้อหารายวิชา

    หัวข้อวิชา ผู้พิทักษ์ป่าต้นน้ำ ประกอบด้วย

    บทที่ 1 รู้จักระบบนิเวศต้นน้ำ

    บทที่ 2 ปัญหาพื้นที่ต้นน้ำ

    บทที่ 3 แนวทางการแก้ปัญหาพื้นที่ป่าต้นน้ำ

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1.  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับปัญหาน้ำบ่าไหลหลากในช่วงฤดูฝน กับปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งได้

    2.  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายองค์ประกอบของระบบนิเวศต้นน้ำได้

    3.  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ำ และป่าไม้ได้

    4.  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายปัจจัยเกี่ยวกับสภาพอากาศ การหมุนรอบตัวเองของโลก กับการเคลื่อนที่ของลมได้

    5.  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายชนิดของเมฆต่าง ๆ ได้

    6.  เพื่อให้ผู้เรียนทราบและสามารถอธิบายการให้บริการของน้ำท่าที่ไหลในลำธารของระบบนิเทศป่าต้นน้ำได้

    7.  เพื่อให้ผู้เรียนทราบและสามารถอธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกัดชะพังทลายของดินได้

    8.  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายและยกตัวอย่างงานวิจัยท้องถิ่น ที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาของระบบนิเวศต้นน้ำได้

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • ผศ.ชูพงศ์ ปัญจมะวัต

    • ศูนย์การศึกษาทั่วไป

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ดร.พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล

    • ที่ปรึกษาโครงการเอสซีจีรักษ์น้ำเพื่ออนาคต

      ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี

       

    • คุณวิชญ์วิสิฐ ธิราชรัมย์

    • เจ้าหน้าที่กิจการเพื่อสังคม

      บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

คอร์สแนะนำ