ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับรายวิชา
วิชา วิทยาศาสตร์ฮาลาลเบื้องต้น สำหรับอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล จะนำเสนอเกี่ยวกับ ความสำคัญของผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ความเข้าใจฮาลาลและหะรอมในอิสลาม โครงสร้างพื้นฐานการรับรองฮาลาล วิทยาศาสตร์เพื่อการรับรองฮาลาล และมาตรฐานระบบบริหารเพื่อจัดเตรียมอาหารฮาลาล เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ชีวิตประจำวันต่อไป
เนื้อหารายวิชา
เนื้อหารายวิชา วิทยาศาสตร์ฮาลาลเบื้องต้นสำหรับอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ประกอบด้วย
บทที่ 1 ความสำคัญของผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
บทที่ 2 ความเข้าใจฮาลาลและหะรอมในอิสลาม
บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานการรับรองฮาลาล
บทที่ 4 วิทยาศาสตร์ฮาลาลเพื่อการรับรองฮาลาล
บทที่ 5 การมาตรฐานระบบบริหารเพื่อจัดเตรียมอาหารฮาลาลปลอดภัย
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
วัตถุประสงค์
หมายเหตุ
อาจารย์ผู้สอน
รศ. ดร.วินัย ดะห์ลัน
ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.อัซอารีย์ สุขสุวรรณ
นักวิจัย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.พรพิมล มะหะหมัด
หัวหน้าฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.อาณัฐ เด่นยิ่งโยชน์
หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คุณซูไนนี มาหะมะ
หัวหน้างานวิจัยและนวัตกรรม
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คุณอิรฟัน แวหะมะ
หัวหน้างานบริการหน่วยงานภายนอก สำนักงานกรุงเทพฯ
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย