ภาษาอาหรับในชีวิตประจำวัน

  • โดย : ผศ. ดร.ทรงศักดิ์ หมัดสะ
  • รหัส : CHULAMOOC1301
  • หมู่ :
    ภาษา
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

เปิดล่าสุด
รุ่นที่ 6
  • เริ่มลงทะเบียน 2 สิงหาคม 2567
  • สิ้นสุดการเรียน 30 กันยายน 2567
รุ่นที่ 5
  • เริ่มลงทะเบียน 7 กรกฎาคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 31 สิงหาคม 2566
รุ่นที่ 4
  • เริ่มลงทะเบียน เมษายน 2564
  • สิ้นสุดการเรียน 31 พฤษภาคม 2564
รุ่นที่ 3
  • เริ่มลงทะเบียน เมษายน 2563
  • สิ้นสุดการเรียน 31 พฤษภาคม 2563
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน สิงหาคม 2561
  • สิ้นสุดการเรียน 30 กันยายน 2561
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน กันยายน 2560
  • สิ้นสุดการเรียน 31 ตุลาคม 2560
เนื้อหา
7 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

รายวิชา ภาษาอาหรับในชีวิตประจำวัน จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการทักทายและการแนะนำตัว ในรูปแบบต่าง ๆ ตามสถานการณ์ การสนทนา โดยจะแบ่งการสนทนา ออกเป็น 4 กลุ่ม จำแนกตามสิ่งที่เกี่ยวข้องได้แก่ บุคคล สิ่งของ สถานที่ ตัวเลขและเวลา ทั้งนี้จะประกอบด้วยบทสนทนา ถาม-ตอบ การบรรยายลักษณะ การใช้กริยาคำสั่งและการขอร้อง การแสดงความเห็นและความรู้สึก เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน 

เนื้อหารายวิชา

    หัวข้อ ภาษาอาหรับในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย

    

    บทที่ 1 การทักทายและการแนะนำตัว 

    บทที่ 2 การสนทนาเกี่ยวกับบุคคล 

    บทที่ 3 การสนทนาเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา 

    บทที่ 4 การสนทนาเกี่ยวกับสถานที่ 

    บทที่ 5 การสนทนาเกี่ยวกับตัวเลขและเวลา 

    บทที่ 6 การใช้กริยาคำสั่งและการขอร้อง 

    บทที่ 7 การแสดงความเห็นและความรู้สึก 

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

การวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารภาษาอาหรับในชีวิตประจำวันเบื้องต้นได้ เช่น การทักทาย การแนะนำตัว 

    2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ภาษาหรับในการสื่อสารในแต่ละสถานการณ์ได้ในชีวิตประจำวัน 

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • ผศ. ดร.ทรงศักดิ์ หมัดสะ
    • ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์
    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ