วิทยาการคำนวณ: สำรวจหลักสูตรและก้าวแรก Coding

  • โดย : รศ. ดร.อติวงศ์ สุชาโต
  • รหัส : CHULAMOOC2008
  • หมู่ :
    เทคโนโลยี
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 5
  • เริ่มลงทะเบียน 5 มกราคม 2567
  • สิ้นสุดการเรียน 29 กุมภาพันธ์ 2567
รุ่นที่ 4
  • เริ่มลงทะเบียน 6 มกราคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 28 กุมภาพันธ์ 2566
รุ่นที่ 3
  • เริ่มลงทะเบียน 7 มกราคม 2565
  • สิ้นสุดการเรียน 28 กุมภาพันธ์ 2565
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 2 กรกฎาคม 2564
  • สิ้นสุดการเรียนถึง 31 สิงหาคม 2564
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 8 มกราคม 2564
  • สิ้นสุดการเรียน 28 กุมภาพันธ์ 2564
เนื้อหา
4 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทชีวิตของคนในสังคมเป็นอย่างมาก ทั้งในการดำเนินชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ การพัฒนาประเทศ การมีความพร้อมที่จะใช้ชีวิตอยู่ในโลกดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียมและปลอดภัย รวมถึงความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้ได้ประโยชน์สูงสุดจึงเป็นทักษะที่มีคุณค่ามหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเยาวชนที่จะเติบโตขึ้นมาเป็นกำลังของประเทศในอนาคต สำหรับวิชา วิทยาการคำนวณ: สำรวจหลักสูตรและก้าวแรก Coding จะมีเนื้อหาที่มุ่งเน้นความรู้และทักษะทางวิทยาการคำนวณ ความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงแนวทางการพัฒนาตนเองในการเขียนโปรแกรมที่มีผลต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้อง

เนื้อหารายวิชา

    เนื้อหารายวิชา วิทยาการคำนวณ: สำรวจหลักสูตรและก้าวแรก Coding ประกอบด้วย

    บทที่ 1 โลกดิจิทัล

    บทที่ 2 วิทยาการคำนวณ

    บทที่ 3 แนวคิดเชิงคำนวณ

    บทที่ 4 ก้าวแรก Coding

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายความสำคัญของความรู้และทักษะทางวิทยาการคำนวณต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้อง

    2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนโปรแกรมในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • รศ. ดร.อติวงศ์ สุชาโต

    • ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
      คณะวิศวกรรมศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ