ออกแบบชีวิตมหาวิทยาลัยให้ลงตัว

  • โดย : ดร.เพิ่มสิทธิ์ นำประสิทธิผล
  • รหัส : CHULAMOOC4014
  • หมู่ :
    ศิลปะและการพัฒนาตนเอง
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

เปิดล่าสุด
รุ่นที่ 4
  • เริ่มลงทะเบียน 10 มกราคม 2568
  • สิ้นสุดการเรียน 28 กุมภาพันธ์ 2568
รุ่นที่ 3
  • เริ่มลงทะเบียน 5 มกราคม 2567
  • สิ้นสุดการเรียน 29 กุมภาพันธ์ 2567
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 5 พฤษภาคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 30 มิถุนายน 2566
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 13 สิงหาคม 2564
  • สิ้นสุดการเรียน 30 กันยายน 2564
เนื้อหา
10 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

วิชา ออกแบบชีวิตมหาวิทยาลัยให้ลงตัว จะนำเสนอเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแนะแนวเกี่ยวกับการออกแบบชีวิต (Life Design) เพื่อนำไปต่อยอดในการเลือกอาชีพและเส้นทางการทำงาน วิชานี้จะส่งมอบเครื่องมือ และโมเดลในการออกแบบชีวิตโดยยึดหลัก “ความคิดออกแบบเชิงนวัตกรรม” หรือ Design Thinking รวมถึงทฤษฎีทางจิตวิทยา ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเข้าใจตัวเอง ตั้งโจทย์ชีวิตที่ถูกต้อง วิธีการระดมความคิด การทดลองประสบการณ์ต้นแบบ (Prototyping) รวมถึงเทคนิคที่จำเป็นในการทำงาน เช่น การสัมภาษณ์ การหางาน แนวทางการพัฒนาตัวเองเมื่อได้งาน หลังจากเรียนวิชานี้ผู้เรียนจะมีเครื่องมือติดตัวที่ช่วยเริ่มต้นวางแผนชีวิตการทำงานหลังรั้วมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื้อหารายวิชา

    เนื้อหารายวิชา ออกแบบชีวิตมหาวิทยาลัยให้ลงตัว ประกอบด้วย

    บทที่ 1 Introduction

    บทที่ 2 Myths and Realities

    บทที่ 3 Work View and Life View

    บทที่ 4 Head, Heart, and Hustle

    บทที่ 5 Mixer Match

    บทที่ 6 Gravity Problem

    บทที่ 7 Odyssey Plans

    บทที่ 8 Prototyping

    บทที่ 9 Informational Interview

    บทที่ 10 Summary

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะเป็นคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 100 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถดาวน์โหลด Certificate บนหน้ารายวิชาได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงการออกแบบชีวิต รวมถึงการออกแบบชีวิตการทำงาน

    2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบชีวิตอย่างถูกต้อง

    3. เพื่อให้ผู้เรียนรับทราบถึงแนวคิด (Mindset) ที่ถูกต้องในการออกแบบชีวิต

    4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถค้นหาสิ่งที่ตัวเองสนใจทำ และออกแบบวางแผนปฏิบัติการที่ลงมือทำได้จริง

    5. เพื่อให้ผู้เรียนมีมุมมองและการเตรียมพร้อมเกี่ยวกับการเลือกงานและสายอาชีพในอนาคต เพื่อส่งเสริมด้านความเป็นผู้นำและฝึกทักษะการออกแบบชีวิตด้วยโจทย์จริง

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • ดร.เพิ่มสิทธิ์ นำประสิทธิผล

    • นักจิตวิทยา ผู้ก่อตั้งบริษัท Modular Consulting
      อาจารย์พิเศษศูนย์ศึกษาทั่วไป

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย