ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับรายวิชา
วิชาแพะ : นวัตกรรมทางระบบสืบพันธุ์ขั้นสูงเพื่อขับเคลื่อนการผลิตแพะ เป็นการนำความรู้จากโครงการ “การพัฒนาประสิทธิภาพเทคโนโลยีการแช่แข็งตัวอ่อนแพะ แกะ และการจัดตั้งต้นแบบธุรกิจผลิตสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กด้วยเทคโนโลยีชีวภาพทางระบบสืบพันธุ์” มานำเสนอในรูปแบบออนไลน์ โดยมีการนำเสนอข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์ และเป็นแนวทางในการนำเอาองค์ความรู้ด้านการผสมเทียมและการย้ายฝากตัวอ่อนที่สามารถช่วยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ และป้องกันโรคติดต่อทางการสืบพันธุ์ที่ยอมรับทั่วโลกมาสู่ภาคเอกชน และสามารถตอบโจทย์กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ แกะ และนำไปสู่การวางแผนธุรกิจ รวมทั้งการเปิดวิสัยทัศน์ให้กับนิสิต นักศึกษาสัตวแพทย์ในการเรียนรู้ด้านนวัตกรรมทางระบบสืบพันธุ์ และการนำความรู้มาสู่การปฏิบัติจริงในการประกอบอาชีพในอนาคต
เนื้อหารายวิชา
หัวข้อวิชา แพะ : นวัตกรรมทางระบบสืบพันธุ์ขั้นสูงเพื่อขับเคลื่อนการผลิตแพะ ประกอบด้วย
บทที่ 1 ภาพปัจจุบันและอนาคตของการเลี้ยงแพะ
บทที่ 2 สายพันธุ์แพะ
บทที่ 3 การปรับปรุงพันธุ์แพะด้วยนวัตกรรมทางระบบสืบพันธ์ุ
บทที่ 4 การทำแผนธุรกิจและต้นแบบธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมการปรับปรุงพันธุ์
บทที่ 5 ธุรกิจด้านปศุสัตว์และการสร้างเครือข่าย
บทที่ 6 เรียนรู้ Market – Driven – Innovation
บทที่ 7 ตลาดแพะในประเทศและต่างประเทศ
บทที่ 8 ผลกระทบเชิงสังคมและเศรษฐกิจ ของการใช้เทคโนโลยี นำการเลี้ยงแพะ
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจแพะ และแกะ ได้รับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสายพันธุ์แพะ
2. เพื่อให้นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจเรียนรู้การขยายพันธุ์ด้วยนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และสามารถต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ได้
หมายเหตุ
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
อาจารย์ผู้สอน
ศ.กิตติคุณ น.สพ.ดร.มงคล เตชะกำพุ
ภาควิชาสูติศาสตร์ เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์
คณะสัตวแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย