ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับรายวิชา
การบริการนั้นมีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่สิ่งที่ไม่ค่อยซับซ้อน เช่น การซื้อขาย บริการด้านการบันเทิง และบริการด้านวิชาชีพต่าง ๆ และที่ซับซ้อนขึ้นมา เช่น การเงิน การโรงแรม การเดินทาง และที่ซับซ้อนมาก ๆ คือการบริการด้านสาธารณสุข การบริการทางด้านการศึกษา และการบริการของภาครัฐ วิชา Service Design Innovation จะมุ่งเน้นความรู้เกี่ยวกับกระบวนการและวิธีการออกแบบบริการใหม่ โดยนำการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) มาใช้ในการระบุโอกาสการสร้างนวัตกรรม พัฒนา และทดสอบแนวคิดบริการใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับการทำงานของแต่ละคน
เนื้อหารายวิชา
เนื้อหารายวิชา Service Design Innovation ประกอบด้วย
บทที่ 1 Intro to Service Design : แนะนำการออกแบบบริการ
บทที่ 2 Discover / Empathize : การวิจัยรวบรวมข้อมูลเพื่อการออกแบบบริการ
บทที่ 3 Define : การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุโอกาสการสร้างนวัตกรรมการบริการ
บทที่ 4 Develop / Ideate : การสังเคราะห์แนวคิดนวัตกรรมการบริการ
บทที่ 5 Deliver / Prototype & Test : การทดสอบและพัฒนาแนวคิดเพื่อเตรียมส่งมอบการบริการ
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบบริการ
2. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักเครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบริการแต่ละขั้นตอน
3. เพื่อให้ผู้เรียนเล็งเห็นโอกาสในการสร้างนวัตกรรมและเพิ่มคุณค่าโดยการนำกระบวนการออกแบบบริการไปประยุกต์ใช้ในองค์กร
หมายเหตุ
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
อาจารย์ผู้สอน
รศ. ดร.ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา
ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย