ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับรายวิชา
รายวิชา การสื่อสารในเชิงธุรกิจ จะนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการสื่อสารของมนุษย์ในเชิงธุรกิจ ลักษณะขององค์กรธุรกิจ หลักการโน้มน้าวใจ การมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้รับสาร ความหมายของอวัจนภาษา และกลวิธีในการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สำหรับการสื่อสารแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การใช้วัจนภาษา และการใช้อวัจนภาษา การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ทุกคน การสื่อสารที่ดีนั้นผู้ส่งสารจะต้องแสดงให้ผู้รับสารเห็นได้อย่างชัดเจนว่าต้องการอะไร สำหรับการสื่อสารในเชิงธุรกิจ หรือแบบองค์กรธุรกิจ จะต้องยึดหลักในการโน้มน้าวใจและการมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้รับสารในแต่ละสถานะ เช่น ผู้บริโภค เพื่อนร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา ผู้ส่งสารควรจะใช้การสื่อสารแบบใด รวมถึงการทำความเข้าใจเกี่ยวกับอวัจนภาษาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย ท่าทาง สีหน้า และน้ำเสียง เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความพอใจ
เนื้อหารายวิชา
เนื้อหารายวิชา การสื่อสารในเชิงธุรกิจ ประกอบด้วย
บทที่ 1 การสื่อสารในเชิงธุรกิจ
บทที่ 2 หลักการโน้มน้าวใจ
บทที่ 3 อวัจนภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเชิงธุรกิจ
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายลักษณะการสื่อสารในเชิงธุรกิจ ลักษณะขององค์กรธุรกิจ
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการโน้มน้าวใจและการมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้รับสาร
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายความหมายของอวัจนภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเชิงธุรกิจ
4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกใช้กลวิธีในการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวได้อย่างเหมาะสมในเชิงธุรกิจ
หมายเหตุ
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น
อาจารย์ผู้สอน
ผศ. ดร.ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์
ภาควิชาการประชาสัมพันธ์
คณะนิเทศศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย