ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับรายวิชา
รายวิชา การเจรจาต่อรองในเชิงธุรกิจ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนิสิต ประชาชนทั่วไป และพนักงานองค์กรที่สนใจ สำหรับเนื้อหาวิชาจะนำเสนอเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่ใช้ในการเจรจาต่อรอง ประเภทของการเจรจาต่อรอง หลักการจัดการความตึงเครียดระหว่างการเจรจาต่อรอง หลักการฟังเชิงรุก (Active listening) ข้อควรระวังในการเจรจาต่อรอง กระบวนการเจรจาต่อรอง เช่น การจัดลำดับการเจรจาต่อรอง การเตรียมการเจรจาต่อรอง จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาต่อรอง การบรรลุเป้าหมายของการเจรจาต่อรอง การทำสัญญาและข้อตกลง เทคนิคการจัดการกับข้อเรียกร้องในระหว่างการเจรจาต่อรอง การสร้างเงื่อนไข : Achoring, Overconfidence, Framing, Availability การสร้างเงื่อนไข : Escalation, Reciprocation, Contrast การจัดการความขัดแย้งในระหว่างการเจรจาต่อรอง
เนื้อหารายวิชา
เนื้อหารายวิชา การเจรจาต่อรองในเชิงธุรกิจ ประกอบด้วย
บทที่ 1 กลยุทธ์ที่ใช้ในการเจรจาต่อรอง
บทที่ 2 กระบวนการเจรจาต่อรอง
บทที่ 3 เทคนิคการจัดการกับข้อเรียกร้องในระหว่างการเจรจาต่อรอง
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายกลยุทธ์ที่ใช้ในการเจรจาต่อรอง กระบวนการเจรจาต่อรองและเทคนิคการจัดการกับข้อเรียกร้องในระหว่างการเจรจาต่อรอง
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเจรจาต่อรองในเชิงธุรกิจ
หมายเหตุ
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น
อาจารย์ผู้สอน
รศ. ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา
ภาควิชาการประชาสัมพันธ์
คณะนิเทศศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย