ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับรายวิชา
รายวิชา กินอย่างไรห่างไกลมะเร็ง จะมีเนื้อหาทั้งหมด 6 บทเรียน โดยจะนำเสนอเกี่ยวกับการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของอาหารกับโรคมะเร็ง โดยการให้ข้อมูลสถานการณ์ความเจ็บป่วย ชี้แนะเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การก่อโรคมะเร็ง ให้ความกระจ่างในประเด็นปัญหาความสับสนเรื่องอาหารกับโรคมะเร็ง ทั้งยังสร้างความตระหนักในการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ก่อนส่งให้ผู้อื่น แนะนำและอธิบายวิธีการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับอาหารกับการเกิดโรคมะเร็ง และสรุปรวบยอดอาหารที่เสี่ยง และอาหารที่ช่วยปกป้องจากโรคมะเร็ง เป็นต้น เป็นการให้ความรู้แก่ผู้เรียนเพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
เนื้อหารายวิชา
หัวข้อวิชา กินอย่างไรห่างไกลมะเร็ง ประกอบด้วย
บทที่ 1 สถานการณ์การป่วยเป็นโรคมะเร็ง
บทที่ 2 ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง
บทที่ 3 ความเชื่อเรื่องอาหารกับโรคมะเร็ง
บทที่ 4 ตะลุยเว็บไซต์ไขปริศนาอาหารกับมะเร็ง
บทที่ 5 ชัวร์ก่อนแชร์เรื่องมะเร็ง
บทที่ 6 อาหารใดเสี่ยงภัยมะเร็ง
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและโภชนาการกับการเกิดโรคมะเร็ง
2. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักแหล่งเรียนรู้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาหารและโรคมะเร็ง
3. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการเข้าถึงและศึกษาแหล่งเรียนรู้ด้านอาหารกับโรคมะเร็งด้วยตนเอง
4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสรุปความรู้ที่ถูกต้องว่าอาหารใดเสี่ยงต่อโรคมะเร็งและอาหารใดสามารถป้องกันโรคมะเร็งได้
หมายเหตุ
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
อาจารย์ผู้สอน
ศ. ดร.ภญ.จงจิตร อังคทะวานิช
คณะสหเวชศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย