การออกแบบเพื่อทุกคน

  • โดย : คณาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รหัส : CHULAMOOC5005
  • หมู่ :
    สุขภาพ
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 5
  • เริ่มลงทะเบียน 2 สิงหาคม 2567
  • สิ้นสุดการเรียน 30 กันยายน 2567
รุ่นที่ 4
  • เริ่มลงทะเบียน 3 มีนาคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 30 เมษายน 2566
รุ่นที่ 3
  • เริ่มลงทะเบียน 9 กันยายน 2565
  • สิ้นสุดการเรียน 31 ตุลาคม 2565
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 17 เมษายน 2563
  • สิ้นสุดการเรียน 30 มิถุนายน 2563
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน ตุลาคม 2562
  • สิ้นสุดการเรียน 30 พฤศจิกายน 2562
เนื้อหา
6 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

การออกแบบเพื่อทุกคน เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือสภาพแวดล้อมที่ทุกคนสามารถใช้งานได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านร่างกายและอายุ สำหรับรายละเอียดเนื้อหาที่จะกล่าวถึงในรายวิชานี้จะบรรยายเกี่ยวกับความเป็นมา และความสำคัญของการออกแบบเพื่อทุกคน หลักของการออกแบบ เกณฑ์การออกแบบ การนำหลักการ UD ไปประยุกต์ใช้กับสถาปัตย์ การออกแบบ UD นี้ไม่ใช่เพื่อคนพิการ ผู้สูงอายุ เท่านั้น การออกแบบดังกล่าวยังเหมาะสมกับคนท้อง เด็ก คนป่วย ฯลฯ อีกด้วย

เนื้อหารายวิชา

    เนื้อหาในรายวิชา การออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) ประกอบด้วย

    บทที่ 1 - แนะนำบทเรียน

    บทที่ 2 - หลัก 7 ประการของการออกแบบเพื่อทุกคน

    บทที่ 3 - เกณฑ์การออกแบบเพื่อทุกคน

    บทที่ 4 - การนำหลักการ UD มาประยุกต์ใช้กับสถาปัตย์

    บทที่ 5 - กรณีศึกษาการปรับปรุงบ้านแต่ละภูมิภาค

    บทที่ 6 - บทสรุปและแนวโน้มในอนาคต

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการออกแบบเพื่อทุกคน

    2. สามารถนำหลักการและกรณีศึกษาไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน สภาพแวดล้อมได้

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์

    • ภาควิชาเคหการ
      คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • รศ.ภาวดี อังศุสิงห์

    • ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม
      คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ผศ.กิตติอร ศิริสุข

    • ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน
      คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ