ยานยนต์ไฟฟ้า - กุญแจสู่การสัญจรยุคหน้า

  • โดย : รศ. ดร.อังคีร์ ศรีภคากร
  • รหัส : CHULAMOOC2004
  • หมู่ :
    เทคโนโลยี

รายวิชานี้สำหรับนิสิตปัจจุบันและบุคลากรจุฬาฯ

ลงทะเบียนเรียน
เนื้อหา
9 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคลากรจุฬาฯ จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

สำหรับวิชา ยานยนต์ไฟฟ้า - กุญแจสู่การสัญจรยุคหน้า (EV - The key to future mobility) จะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า และแนวคิดจากเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยมุ่งเน้นใหผู้เรียนเห็นถึงโอกาสที่สังคมไทยจะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า และตระหนักถึงความท้าทายกว่าสังคมจะก้าวจากความเคลือบแคลงสงสัยสู่การโอบรับสนับสนุนการพัฒนาการใช้ประโยชน์ อุตสาหกรรม และธุรกิจที่เกี่ยวของกับยานยนตไฟฟ้า รวมไปถึงการสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมโลกต่อไป  

เนื้อหารายวิชา

    หัวข้อ ยานยนต์ไฟฟ้า - กุญแจสู่การสัญจรยุคหน้า (EV - The key to future mobility)

    บทที่ 1 - ประเทศไทยพร้อมหรือไม่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า 

    บทที่ 2 - เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ตอนที่ 1 รูปแบบและส่วนประกอบ 

    บทที่ 3 - เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ตอนที่ 2 แบตเตอรี่และสถานีประจุไฟฟ้า 

    บทที่ 4 - คำถามที่พบบ่อย 1 : ยานยนต์ไฟฟ้า ... จะปลอดภัยไหม 

    บทที่ 5 - คำถามที่พบบ่อย 2 : ยานยนต์ไฟฟ้า ... ดีต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือ 

    บทที่ 6 - คำถามที่พบบ่อย 3 : ยานยนต์ไฟฟ้า ... ใช้แล้ว ไฟหมด แร่ไม่พอ จะทำอย่างไร 

    บทที่ 7 - คนไทยพร้อมหรือไม่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า 

    บทที่ 8 - คำถามที่พบบ่อย 4 : ยานยนต์ไฟฟ้า ... จะขยับเร็วไปไหม 

    บทที่ 9 - สามประสานสู่การเดินทางยุคหน้า 

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้ 

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อเผยแพร่ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าให้แก่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงและเรียนรู้ ได้ง่ายยิ่งขึ้น 

    2. เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า และสามารถใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างถูกต้อง 

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป 

2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น 

อาจารย์ผู้สอน

    • รศ. ดร.อังคีร์ ศรีภคากร
    • ภาควิชาเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ