ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับรายวิชา
วิชาความปลอดภัยด้านกายภาพ ยา และโภชนาการ จะนำเสนอความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วยในแง่ของประชาชนทั่วไปที่ควรรู้และ ตระหนัก บทบาทความปลอดภัยของผู้ป่วยในการลดอุบัติการณ์และผลกระทบต่อเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ให้ เหลือน้อยที่สุดรวมถึงวิธีการแก้ไขเพื่อการคืนสภาพให้มากที่สุดจากเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เหล่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านมนุษย์และความปลอดภัยของผู้ป่วย ความเข้าใจระบบและผลของความซับซ้อน ในการดูแลผู้ป่วย การเป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพของทีม การเรียนรู้จากความผิดพลาดเพื่อการป้องกันอันตราย ความเข้าใจและการจัดการกับความเสี่ยงทางคลินิก การใช้วิธีการปรับปรุงคุณภาพเพื่อปรับปรุงการดูแล การมี ส่วนร่วมของผู้ป่วยและผู้ดูแลการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ความปลอดภัยของผู้ป่วยและหัตถการที่รุกล้ำ และความปลอดภัยในการใช้ยา
หัวข้อวิชา ความปลอดภัยด้านกายภาพ ยา และโภชนาการ
บทที่ 1 ความปลอดภัยทางกายภาพบำบัดเพื่อประชาชน
1.1 จัด Office พิชิต Syndrome
1.2 เมื่อไหร่ต้องร้อน ตอนไหนต้องเย็น
1.3 จำเป็นแค่ไหน ที่ต้องใส่เครื่องช่วยพยุง
บทที่ 2 ความปลอดภัยด้านโภชนาการ
2.1 ฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ อ่านอย่างไร?
2.2 ความหมายของพลังงาน ไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ บนฉลากกับการใช้ประโยชน์การเลือกอาหาร
2.3 โรคที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการกับข้อควรรู้บนฉลาก
2.4 การเลือกใช้ชนิดของน้ำมันให้เหมาะสมกับการปรุงอาหาร
2.5 การเลือกชนิดของน้ำปลาให้เหมาะกับโรค
2.6 การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ให้ความหวานแทนน้ำตาล
บทที่ 3 ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา
3.1 ความสำคัญของฉลากยา
3.2 การเก็บรักษายาอย่างถูกต้อง
3.3 วิธีการใช้ยาและข้อผิดพลาดที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้ยา
3.4 วิธีปฏิบัติหากลืมรับประทานยา
วัตถุประสงค์
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
หมายเหตุ
อาจารย์ผู้สอน