การเปลี่ยนแปลงภาษา: ภาษามนุษย์

  • โดย : รศ. ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์
  • รหัส : CHULAMOOC1001
  • หมู่ :
    ภาษา
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 6
  • เริ่มลงทะเบียน 6 กันยายน 2567
  • สิ้นสุดการเรียน 31 ตุลาคม 2567
รุ่นที่ 5
  • เริ่มลงทะเบียน 6 ตุลาคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 30 พฤศจิกายน 2566
รุ่นที่ 4
  • เริ่มลงทะเบียน 6 พฤษภาคม 2565
  • สิ้นสุดการเรียน 30 มิถุนายน 2565
รุ่นที่ 3
  • เริ่มลงทะเบียน 22 มกราคม 2564
  • สิ้นสุดการเรียน 31 มีนาคม 2564
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 8 กันยายน 2563
  • สิ้นสุดการเรียน 31 ตุลาคม 2563
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 10 มกราคม 2563
  • สิ้นสุดการเรียน 29 กุมภาพันธ์ 2563
เนื้อหา
11 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมด ให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

วิชา การเปลี่ยนแปลงภาษา “ภาษามนุษย์” จะมีเนื้อหาทั้งหมด 11 บทเรียน ผู้เรียนจะได้ทำความรู้จักกับภาษาในแง่มุมที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน โดยเนื้อหาครอบคลุม ลักษณะเด่นของภาษามนุษย์ที่ทำให้แตกต่างจากการสื่อสารแบบอื่นๆ องค์ประกอบของภาษามนุษย์ไม่ว่าจะเป็น เสียง คำ ประโยค ความหมาย การเปลี่ยนแปลงของภาษามนุษย์ข้ามกาลเวลา พลวัตของภาษามนุษย์ในสังคม ความหลากหลายของภาษาในโลก รวมไปถึงภาษากับเทคโนโลยี

เนื้อหารายวิชา

    เนื้อหาในรายวิชา การเปลี่ยนแปลงภาษา: ภาษามนุษย์ ประกอบด้วย

    ตอนที่ 1 : นิยามการเปลี่ยนแปลงภาษา

    ตอนที่ 2 : การเปลี่ยนแปลงศัพท์

    ตอนที่ 3 : การเปลี่ยนแปลงเสียง ตอนที่ 1

    ตอนที่ 4 : การเปลี่ยนแปลงเสียง ตอนที่ 2

    ตอนที่ 5 : การเปลี่ยนแปลงไวยากรณ์ ตอนที่ 1

    ตอนที่ 6 : การเปลี่ยนแปลงไวยากรณ์ ตอนที่ 2

    ตอนที่ 7 : การเปลี่ยนแปลงความหมาย

    ตอนที่ 8 : การแพร่ของนวัตกรรมทางภาษา

    ตอนที่ 9 : ปัจจัยทางกายวิภาคและปัจจัยทางสังคม

    ตอนที่ 10 : ปัจจัยทางปริชาน

    ตอนที่ 11 : การเปลี่ยนแปลงที่กำลังดำเนินอยู่

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายลักษณะการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่พบได้

    2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาษาได้

    3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ภาษามนุษย์ตามแนวภาษาศาสตร์ในระดับเบื้องต้นได้

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • รศ. ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์

    • ภาควิชาภาษาศาสตร์

      คณะอักษรศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ