การดูแลตนเองเพื่อการเป็นผู้สูงวัยสุขภาพดีมีความสุข

  • โดย : ทีมคณาจารย์จาก CHULA ARi
  • รหัส : CHULAMOOC5021
  • หมู่ :
    สุขภาพ
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

เปิดล่าสุด
รุ่นที่ 3
  • เริ่มลงทะเบียน 5 พฤษภาคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 30 มิถุนายน 2566
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 1 เมษายน 2565
  • สิ้นสุดการเรียน 31 พฤษภาคม 2565
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 2 เมษายน 2564
  • สิ้นสุดการเรียน 31 พฤษภาคม 2564
เนื้อหา
8 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

วิชา การดูแลตนเองเพื่อการเป็นผู้สูงวัยสุขภาพดีมีความสุข (Aging Society and The Oral Health Care) เป็นการนำเสนอความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีและมีความสุขในทุกช่วงวัย โดยจะมุ่งเน้นการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในมิติต่าง ๆ ตามแนวทางการบูรณาการดูแลผู้สูงอายุขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นผลผลิตจากการประชุมผู้เชี่ยวชาญ และความร่วมมือกับกรมอนามัย กรมการแพทย์ สำนักอนามัย สสส. ภายใต้โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย (จุฬาอารี) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ สำหรับเนื้อหาวิชาจะประกอบด้วย ความรอบรู้ และการตระหนักรู้ตนเองด้านสุขภาพ กิจกรรมทางกาย โภชนาการเพื่อสุขภาพดี การได้ยิน และการมองเห็น การดูแลตนเองเพื่อชะลอสมองเสื่อม การดูแลสุขภาพช่องปาก และการดูแลสุขภาพจิต เป็นต้น

หัวข้อวิชา การดูแลตนเองเพื่อการเป็นผู้สูงวัยสุขภาพดีมีความสุข

บทที่ 1 ความรอบรู้และการตระหนักรู้ตนเองด้านสุขภาพตามแนวทางองค์การอนามัยโลก

บทที่ 2 กิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพดีมีความสุข

บทที่ 3 โภชนาการเพื่อสุขภาพดีมีความสุข

บทที่ 4 การได้ยินและการมองเห็นเพื่อสุขภาพดีมีความสุข

บทที่ 5 การดูแลตนเองเพื่อชะลอสมองเสื่อมเพื่อสุขภาพดีมีความสุข

บทที่ 6 การดูแลสุขภาพจิตเพื่อสุขภาพดีมีความสุขและสุขภาวะ

บทที่ 7 การดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อสุขภาพดีมีความสุข

บทที่ 8 สรุปบทเรียนการดูแลตนเองเพื่อเป็นผู้สูงวัยสุขภาพดีมีความสุข

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากบทเรียนไปใช้ในการดูแลตนเองเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นผู้สูงวัยสุขภาพดีมีความสุข

    2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองแก่ประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจการดูแลตนเองสู่การเป็นผู้สูงวัยสุขภาพดีมีความสุข

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

หมายเหตุ

    1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

    2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • ทีมคณาจารย์จาก CHULA Ari