ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับรายวิชา
รายวิชา การสร้างสื่อดิจิทัลเพื่อการมีส่วนร่วม เป็นข้อมูลจากวงการวิชาชีพที่ถอดบทเรียนมาจาก “โครงการพัฒนากำลังคนและนวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์” ซึ่งได้รับทุนภายนอกและเพื่อให้องค์ความรู้ได้รับการเผยแพร่ไปยังบุคคลที่ทำงานในการผลิตสื่อและในอุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์ เข้ามาเรียนและพัฒนาให้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล อาทิ เทคโนโลยีเสมือนจริง (AR/VR) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีสื่ออินเตอร์แอคทีฟ (Interactive Media) เทคโนโลยีเทคโนโลยีระบุบอกตำแหน่ง (Location-based) กลยุทธ์เกมิฟิเคชั่น (Gamification) และการใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ ของสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ในการสร้างการมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมที่เกิดประโยชน์ในเชิงสังคม รวมไปถึงในเชิงพาณิชย์สามารถใช้พลังการมีส่วนร่วมและการร่วมสร้างเนื้อหาระหว่างผู้รับสารและผู้ผลิตขับเคลื่อนเนื้อหาในอุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์สู่การเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่สร้างมูลค่าได้
โดยเนื้อหาวิชาจะกล่าวถึง หลักการในการใช้เล่าเรื่องผลิตสื่อดิจิทัลเพื่อสร้างประสบการณ์การรับรู้ การสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ผลิตสื่อและผู้รับสารโดยใช้สื่อดิจิทัล เทคโนโลยีเสมือนจริง สื่ออินเตอร์แอคทีฟ เทคโนโลยีระบุบอกตำแหน่ง กลยุทธ์เกมิฟิเคชั่น และสื่อสังคมออนไลน์ โอกาสการหารายได้ของธุรกิจสื่อ กระบวนการพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการมีส่วนร่วมจากทีมพัฒนา Media Lab
เนื้อหารายวิชา
เนื้อหาในรายวิชา การสร้างสื่อดิจิทัลเพื่อการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย
บทที่ 1 Intro to Digital Media and Participation : ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อดิจิทัลและการมีส่วนร่วม
บทที่ 2 Interactive Storytelling : การเล่าเรื่องที่ปฏิสัมพันธ์ได้
บทที่ 3 Social Media and Web Content Strategy : กลยุทธ์เนื้อหาออนไลน์ให้มีปฏิสัมพันธ์
บทที่ 4 Location-based Storytelling : การเล่าเรื่องด้วยพิกัดพื้นที่
บทที่ 5 Gamification for media : สื่อกับการใช้กลไกเกมสร้างการมีส่วนร่วม
บทที่ 6 Digital Participation and Business opportunity
บทที่ 7 กระบวนการคิดและใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสื่อ
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป จึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
วัตถุประสงค์
1. ผู้เรียนอธิบายหลักการวิเคราะห์ผู้รับสาร และ การสร้างประสบการณ์ผ่านสื่อดิจิทัลได้
2. ผู้เรียนอธิบายเทคนิควิธีในการเล่าเรื่องและผลิตเนื้อหาด้วยสื่อดิจิทัล เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมได้
3. ผู้เรียนออกแบบสื่อดิจิทัลเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมได้
หมายเหตุ
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
อาจารย์ผู้สอน
ผศ. ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม
ภาควิชาวารสารสนเทศ
คณะนิเทศศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย