IoT Raspberry Pi การทำโครงงานไอโอทีด้วย Raspberry PI: ภาคโปรแกรม

  • โดย : รศ. ดร.อติวงศ์ สุชาโต, คุณปณิดา วิริยะชัยพร และ คุณไกรฤกษ์ ตรีทิพสุนทร
  • รหัส : CHULAMOOC2651
  • หมู่ :
    เทคโนโลยี
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 2 กุมภาพันธ์ 2567
  • สิ้นสุดการเรียน 31 มีนาคม 2567
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 3 มีนาคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 30 เมษายน 2566
เนื้อหา
6 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

• ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเชิงนามธรรมของ Internet of Things และองค์ประกอบของแอปพลิเคชัน Internet of Things

• ให้ผู้เรียนได้เห็นการออกแบบและสร้างต้นแบบแอปพลิเคชัน Internet of Things ชื่อ Robot Gardener อย่างเป็นขั้นเป็นตอนผ่านการสาธิตการทําโครงงานในขอบเขตของการเขียนโปรแกรม ในภาษา Python

• เตรียมพื้นฐานผู้เรียนในการเรียนรู้ต่อยอดเพื่อบูรณาการโปรแกรมเข้ากับเซนเซอร์ (Sensors) และอุปกรณ์ตัวกระตุ้น (Actuators) ด้วย Raspberry Pi ในรายวิชาภาคบูรณาการ

• ผู้เรียนได้เห็นการออกแบบและสร้างต้นแบบแอปพลิเคชัน Internet of Things ชื่อ Robot Gardener จนครบขั้นตอนเมื่อเรียนจบรายวิชาทั้งสองภาค (ภาคโปรแกรม และ ภาคบูรณาการ) ผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อเรียนจบรายวิชาทั้งสองภาค

เนื้อหารายวิชา

    หัวข้อวิชา การทำโครงงานไอโอทีด้วย Raspberry PI: ภาคโปรแกรม ประกอบด้วย

    บทที่ 1 บทนำ

    บทที่ 2 การเขียนโปรแกรม Python เบื้องต้น และ สร้าง GUI ด้วย Pygame และ Pygame Widgets

    บทที่ 3 ขั้นตอนการสร้าง Robot Gardener

    บทที่ 4 การเชื่อมต่อ Robot Gardener กับโปรแกรม LINE

    บทที่ 5 เขียนโปรแกรม Robot Gardener

    บทที่ 6 สรุปการเรียนรู้

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. ผู้เรียนบอกองค์ประกอบของแอปพลิเคชัน IoT ได้

    2. ผู้เรียนเปรียบเทียบองค์ประกอบของ Robot Gardener กับองค์ประกอบของ IoT ได้

    3. ผู้เรียนบอกผลลัพธ์ของโปรแกรมภาษา Python ในขอบเขตที่จําเป็นในการทําโครงงาน Robot Gardener ได้เช่น การประมวลผลข้อมูลผ่านตัวแปร การสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิกส์

    4. ผู้เรียนอธิบายบทบาทและขอบเขตความสามารถของ Raspberry PI ในโครงงาน Robot Gardener ได้

    5. ผู้เรียนอธิบายบทบาทและขอบเขตความสามารถของ Sensors และ Actuators ที่ใช้ใน โครงงาน Robot Gardener ได้

    6. ผู้เรียนอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดของการปฏิบัติงานของขั้นตอนต่าง ๆ ในการทําโครงงาน Robot Gardener ด้วยตนเองอีกครั้งได้

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • รศ. ดร.อติวงศ์ สุชาโต

    • ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

      คณะวิศวกรรมศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • คุณปณิดา วิริยะชัยพร

    • คุณไกรฤกษ์ ตรีทิพสุนทร

คอร์สแนะนำ