การสร้างต้นแบบแอปพลิเคชัน

  • โดย : คุณนวพร ปานดี
  • รหัส : CHULAMOOC2674
  • หมู่ :
    เทคโนโลยี
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 4 สิงหาคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 30 กันยายน 2566
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 17 กุมภาพันธ์ 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 16 เมษายน 2566
เนื้อหา
10 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

วิชาการสร้างต้นแบบแอปพลิเคชัน (Protyping Applications) มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างต้นแบบแอปพลิเคชันที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน เพื่อช่วยในการกลั่นกรองและทดสอบไอเดียการแก้ปัญหาหรืออำนวยความสะดวกด้วยแอปพลิเคชันก่อนที่จะลงมือทำการพัฒนาโปรแกรมจริง เหมาะสำหรับผู้เรียนทุกคน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมมาก่อน

เนื้อหารายวิชา

    หัวข้อวิชา การสร้างต้นแบบแอปพลิเคชัน (Prototyping Applications) ประกอบด้วย

    บทที่ 1 แอปพลิเคชันที่ "ไม่มีใครใช้"

    บทที่ 2 ต้นแบบแอปพลิเคชันและประโยชน์

    บทที่ 3 ประเภทของโปรโตไทป์

    บทที่ 4 โปรโตไทป์ในการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

    บทที่ 5 เครื่องมือสำหรับทำโปรโตไทป์

    บทที่ 6 รับชมภาพรวมการทำโปรโตไทป์

    บทที่ 7 จากไอเดียสู่สเก็ตช์ (Sketch)

    บทที่ 8 การทำไวร์เฟรม (Wireframe)

    บทที่ 9 สร้างโปรโตไทป์ที่มีปฏิสัมพันธ์

    บทที่ 10 โปรโตไทป์แบบไฮไฟ (Hi-Fi)

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. ผู้เรียนบอกความสำคัญของการสร้างต้นแบบแอปพลิเคชันได้

    2. ผู้เรียนบอกประเภทของต้นแบบแอปพลิเคชันและความเหมาะสมในการสร้างต้นแบบแอปพลิเคชันแบบต่าง ๆ ได้

    3. ผู้เรียนบอกบทบาทของการสร้างต้นแบบแอปพลิเคชันในกระบวนการ Design Thinking ได้

    4. ผู้เรียนรู้จักโปรแกรมที่สามารถใช้ในการสร้างต้นแบบแอปพลิเคชัน

    5. ผู้เรียนลงมือทำต้นแบบแอปพลิเคชันแบบ Wireframe และ Hi-fi ด้วยโปรแกรม Figma ได้

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • คุณนวพร ปานดี
    • UX/UI Designer

คอร์สแนะนำ