ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับรายวิชา
วิชา การวินิจฉัยและการรักษาโรคติดเชื้อพิธิโอซิสในหลอดเลือดในปัจจุบัน จะนำเสนอเกี่ยวกับระบาดวิทยาและอาการนำทางคลินิกของโรคพิธิโอซิส, ลักษณะและสัณฐานชองเชื้อพิเธียม, การส่งตรวจทางจุลชีววิทยา, การส่งตรวจทางรังสีวิทยาและการแปลผล, การดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อพิธิโอซิสตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในปัจจุบัน, กรณีตัวอย่างผู้ป่วยโรคติดเชื้อพิธิโอซิสในหลอดเลือด, การติดตามการตอบสนองการรักษา และผลข้างเคียงของยา, บทบาทสำคัญของการผ่าตัด, ช่องทางการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
เนื้อหารายวิชา
หัวข้อวิชา การวินิจฉัยและการรักษาโรคติดเชื้อพิธิโอซิสในหลอดเลือดในปัจจุบัน ประกอบด้วย
บทที่ 1 Epidemiology of pythiosis and clinical presentation
บทที่ 2 Pythiosis in the microbiology world
บทที่ 3 Specimen collection, transportation and laboratory findings
บทที่ 4 Radiologic interpretation of vascular pythiosis
บทที่ 5 Management in pythiosis, the updated evidence-based practice
บทที่ 6 Case based learning in pythiosis: clinical diagnosis
บทที่ 7 Case based learning in pythiosis: surgical role
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะเป็นคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 100 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของโรคติดเชื้อพิธิโอซิสในหลอดเลือดในประเทศไทย และอธิบายลักษณะสำคัญของโรค แก่ผู้สนใจและบุคลากรทางการแพทย์
2. เพื่อพัฒนาทักษะทางคลินิกในการวินิจฉัยโรคติดเชื้อพิธิโอซิสในหลอดเลือดในกลุ่มนิสิตแพทย์และแพทย์ทั่วไป
3. เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อพิธิโอซิสในหลอดเลือด ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในปัจจุบัน แก่ผู้สนใจและบุคลากรทางการแพทย์
หมายเหตุ
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
อาจารย์ผู้สอน
รศ. ดร.อริยา จินดามพร
ภาควิชาจุลชีววิทยา
คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. นพ.นิติพงศ์ เพิ่มพลัง
สังกัด สาขาวิชาโรคติดเชื้อในผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ มหาวิทยาลัย John Hopkins ประเทศสหรัฐอเมริกา
อาจารย์พิเศษ ภาควิชาจุลชีววิทยา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อ. ดร.นวพร วรศิลป์ชัย
ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดฯ
คณะสหเวชศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อ. นพ.รองพงศ์ โพล้งละ
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อ. พญ.ปัทมา ต.วรพานิช
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อ. นพ.พงศกร เอื้อวงศ์ประยูร
สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย
สภากาชาดไทย
อ. นพ.ณัฐพล สุแสงรัตน์
สังกัด กลุ่มงานศัลยกรรม
รพ.ขอนแก่น