ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับรายวิชา
Inter-Professional Collaboration for Patient Safety เป็นวิชาที่จะสอนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ๆ ให้ตรงกับผู้เรียนในยุคดิจิทัล ที่ต้องเน้นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ (Critical Thinking) เพิ่มทักษะในการแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความเป็นผู้นำ และ ความสามารถในการับรู้ภัยคุกคาม เข้าใจสถานการณ์และคาดการณ์ความเสี่ยงได้ล่วงหน้า (Situation awareness) รวมไปถึงจริยธรรมจิตวิญญาณวิชาชีพ การจัดการกับความเครียดและแรงกดดัน การเข้าใจและเคารพผู้อื่น เป็นต้น ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนแบบสหสาขาวิชาชีพทางการแพทย์ Inter-Professional Medical Education (IPME) เริ่มเข้ามามีบทบาท โดยหวังผลให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถนำหลักการที่เรียนมาประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์จริง และสามารถลดความผิดพลาดที่ป้องกันได้ในขบวนการรักษาผู้ป่วยที่เกิดจากปัจจัยมนุษย์ (Preventable Human Error) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงตระหนักในบทบาทหนาที่ของสหสาขาวิชาชีพ สามารถสะท้อนและเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันผ่านความหลากหลายทางวัฒนธรรม ระหว่างสหสาขาวิชาชีพต่างๆ (Learning/Reflection) และสร้างทักษะที่จำเป็นในการทำงานยุคใหม่ ทั้งนี้เป้าหมายสูงสุดคือเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย (Patient safety) อย่างยั่งยืน
วิชา Inter-Professional Collaboration for Patient Safety
บทที่ 1 IPEC Core Competencies for Interprofessional Collaborative Practice
บทที่ 2 TeamSTEPPS
บทที่ 3 Team Critical Thinking for Diagnostic
บทที่ 4 Coping strategies for Interprofessional Medical Education
บทที่ 5 Communication skills for interprofessional collaboration
บทที่ 6 2P Safety Goals
บทที่ 7: Ethical Principles for Interprofessional Collaboration
บทสรุป Link to Sim VR
วัตถุประสงค์
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
หมายเหตุ
อาจารย์ผู้สอน