ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับรายวิชา
รายวิชา การช่วยเหลือผู้เรียนตามความหลากหลายในห้องเรียนยุคปัจจุบัน เป็นการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ จะทำให้ครูผู้สอน และผู้สนใจทั่วไป สามารถเข้าถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับการให้การช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความหลากหลายได้อย่างเท่าเทียม และสร้างความเสมอภาคในการจัดการเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนที่มีความหลากหลายซึ่งมีโอกาสพบได้มากขึ้นในชั้นเรียนในยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ผู้ที่เข้ามาศึกษาในรายวิชานี้จะสามารถเข้าใจความหลากหลาย และทราบเทคนิคและวิธีการในการช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความหลากหลายด้านต่าง ๆ เช่น วัฒนธรรม ภาษา ฐานะทางเศรษฐกิจ ความสามารถ เพศ และอายุ นอกจากนี้รายวิชานี้ยังช่วยในการพัฒนาวิชาชีพและเสริมสร้างเครือข่ายด้านการจัดการศึกษาที่มีความเสมอภาค และเป็นการประชาสัมพันธ์รายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เนื้อหารายวิชา
เนื้อหาในรายวิชา การช่วยเหลือผู้เรียนตามความหลากหลายในห้องเรียนยุคปัจจุบัน ประกอบด้วย
บทที่ 1 ความสำคัญของสังคมถ้วนถึงและความหลากหลายในชั้นเรียน
บทที่ 2 ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภาษา เศรษฐกิจและสังคม ความสามารถ เพศ และช่วงวัย
บทที่ 3 นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลาย
บทที่ 4 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เป็นสากล
บทที่ 5 การช่วยเหลือผู้เรียนตามความหลากหลาย
บทที่ 6 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ผู้เรียนที่มีความหลากหลาย
บทที่ 7 การทำงานร่วมกับครอบครัว ชุมชนและสหวิชาชีพ
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะเป็นคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 100 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถดาวน์โหลด Certificate บนหน้ารายวิชาได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อวิเคราะห์ความหลากหลายของผู้เรียนในสังคมถ้วนถึง
2. เพื่อสังเคราะห์บริบทห้องเรียนในปัจจุบันที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภาษา เศรษฐกิจและสังคม ความสามารถ เพศและช่วงวัย
3. เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายเพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล
4. เพื่อวิเคราะห์วิธีการวัดและประเมินการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความหลากหลายของผู้เรียน
5. เพื่อออกแบบกระบวนการทำงานร่วมกับครอบครัว ชุมชน และสหวิชาชีพ เพื่อช่วยเหลือ ส่งเสริม และพัฒนาผู้เรียนตามความหลากหลาย
หมายเหตุ
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้มากกว่า 1 ครั้ง หรือจนกว่าจะสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด และได้รับ Certificate
อาจารย์ผู้สอน
รศ. ดร.ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ
ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา
คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ. ดร.กมลวรรณ ตังธนกานนท์
ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา
คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม
ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา
คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. ดร.ชนัญชิดา ทุมมานนท์
ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา
คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. ดร.วาทินี อมรไพศาลเลิศ
ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา
คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.ดุสิดา ทินมาลา
ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา
คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อ. ดร.นพรัตน์ ศรีเจริญ
ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา
คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ. ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก
นักวิชาการด้านกฎหมาย
ผศ. ดร.กิตติคุณ วิวัฒน์ภิญโญ
สำนักวิชาแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
คุณจิราภา เดือนเพ็ญศรี
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล
คุณเจตสุดา แก้ววิมล
โรงเรียนนานาชาติ St. Andrews
คุณตีรณา กิจสนาโยธิน
โรงเรียนนานาชาติ St. Andrews
คุณชนิตา วิเศษสุวรรณ
โรงเรียนนานาชาติ St. Andrews