หลักชะรีอะฮ์ในธนาคารอิสลาม

  • โดย : อ. ดร.อภิชาติ พงษ์เกษม, ดร.สมีธ อีซอ และ ดร.อาบิดีน วันขวัญ
  • รหัส : CHULAMOOC3015
  • หมู่ :
    การจัดการ
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 3
  • เริ่มลงทะเบียน 3 พฤษภาคม 2567
  • สิ้นสุดการเรียน 30 มิถุนายน 2567
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 6 มกราคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 28 กุมภาพันธ์ 2566
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 7 พฤษภาคม 2564
  • สิ้นสุดการเรียน 30 มิถุนายน 2564
เนื้อหา
7 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

รายวิชา หลักชะรีอะฮ์ในธนาคารอิสลาม เป็นวิชาที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากว่าในปัจจุบันในกลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และกลุ่มประเทศแอฟริกาเหนือ รวมถึงประเทศไทยได้มีการจัดตั้งธนาคารอิสลาม และด้วยการดำเนินงานของธนาคารบนพื้นฐานของหลักชารีอะห์ยังเป็นเรื่องที่ประชาชนทั่วไปยังขาดความรู้และความเข้าใจเป็นอย่างมาก หลักชะรีอะฮ์ (Islamic law) เป็นประมวลข้อกฎหมายที่มาจากคำสอนและหลักนิติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม ซึ่งครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลและสาธารณชน ตลอดจนครอบคลุมด้านต่าง ๆ ของปฏิสัมพันธ์ทางสังคม โดยรายละเอียดของเนื้อหาวิชานี้จะมุ่งเน้นถึงการเรียนรู้ของหลักชะรีอะฮ์ แนวคิด หลักการ จุดมุ่งหมาย และวิวัฒนาการของธนาคารอิสลาม และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของธนาคารตามหลักชารีอะห์ เพื่อให้นิสิตและประชาชนทั่วไปสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต

เนื้อหารายวิชา

    หัวข้อวิชา หลักชะรีอะฮ์ในธนาคารอิสลาม ประกอบด้วย

    บทที่ 1 หลักชะรีอะฮ์

    บทที่ 2 ความเป็นมาของธนาคารอิสลาม

    บทที่ 3 ระบบเงินฝาก (หลักอัลวะดีอะฮ์)

    บทที่ 4 ระบบการร่วมลงทุน (อัลมุชาเราะกะฮ์)

    บทที่ 5 หลักชะรีอะฮ์ของการขายแบบเปิดเผยต้นทุนและเพิ่มกำไร (อัลมุรอบะฮะฮ์) และการขายผ่อน (อัลบัยอ์ ปิษษะมัน อัลอาญิละ)

    บทที่ 6 การค้ำประกัน (อัลกะฟาละฮ์) การตั้งรางวัล (อัลญุอาละฮ์)

    บทที่ 7 การเช่า (อัลอิญาเราะฮ์)

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักชะรีอะฮ์ในธนาคารอิสลาม

    2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับหลักชะรีอะฮ์ในธนาคารอิสลามไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • อ. ดร.อภิชาติ พงษ์เกษม
    • ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์
    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • ดร.สมีธ อีซอ
    • นักวิชาการอิสระด้านการเงินอิสลาม
    • ดร.อาบิดีน วันขวัญ
    • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

คอร์สแนะนำ