การระงับข้อพิพาททางเลือกในทางธุรกิจ

  • โดย : คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สถาบันอนุญาโตตุลาการ
  • รหัส : CHULAMOOC4022
  • หมู่ :
    ศิลปะและการพัฒนาตนเอง
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 3 พฤศจิกายน 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 31 ธันวาคม 2566
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 6 มกราคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 28 กุมภาพันธ์ 2566
เนื้อหา
5 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

วิชา การระงับข้อพิพาททางเลือกในทางธุรกิจ เป็นความร่วมมือระหว่าง คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สถาบันอนุญาโตตุลาการ โดยทั้ง 2 หน่วยงานเล็งเห็นแล้วว่า ความรู้ที่จะนำมาเสนอนี้มีความสำคัญต่อผู้เรียนทุกท่าน เพราะต้องการให้ผู้เรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาท และสามารถที่จะนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยเนื้อหาวิชานี้จะกล่าวถึงข้อพิพาททางธุรกิจ และวิธีการระงับข้อพิพาท การระงับข้อพิพาททางเลือกประเภทกระบวนการเจรจา การระงับข้อพิพาททางเลือกประเภทการประนอม การระงับข้อพิพาททางเลือกประเภทการอนุญาโตตุลาการ และสุดท้ายกรณีศึกษาการระงับข้อพิพาททางเลือก

เนื้อหารายวิชา

    หัวข้อวิชา การระงับข้อพิพาททางเลือกในทางธุรกิจ ประกอบด้วย

    บทที่ 1 ข้อพิพาททางธุรกิจ และวิธีการระงับข้อพิพาท

    บทที่ 2 การเจรจา (Negotiation)

    บทที่ 3 การประนอม (Mediation)

    บทที่ 4 การอนุญาโตตุลาการ (Arbitration)

    บทที่ 5 กรณีศึกษาการระงับข้อพิพาททางเลือก

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อพิพาททางธุรกิจและวิธีการระงับข้อพิพาทได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

    2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอนุญาโตตุลาการและสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • ผศ. ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ

    • คณะนิติศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • คุณลีลา เกตุขุนทด

    • ที่ปรึกษากฎหมายประจำสถาบันอนุญาโตตุลาการ (THAC)

    • คุณนพมาศ ธรรมธีรเดโช

    • อนุญาโตตุลาการประจำสถาบัน

คอร์สแนะนำ