เปิดโลกชีววิทยา : เคมีในสิ่งมีชีวิต

  • โดย : ผศ. ดร.ศุภณัฐ ไพโรหกุล
  • รหัส : CHULAMOOC2025
  • หมู่ :
    เทคโนโลยี
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 10 มกราคม 2568
  • สิ้นสุดการเรียน 28 กุมภาพันธ์ 2568
COMING SOON
เนื้อหา
13 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

รายวิชา เปิดโลกชีววิทยา : เคมีในสิ่งมีชีวิต เนื้อหาวิชานี้จะนำเสนอเกี่ยวกับหลักการเคมีพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนชีววิทยา ไม่ว่าจะเป็น พันธะเคมี แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล สารอินทรีย์ และหมู่ฟังก์ชัน  รวมถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับสารชีวโมเลกุล ประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ลิพิด และกรดนิวคลีอิก

เนื้อหารายวิชา

    เนื้อหาในรายวิชา เปิดโลกชีววิทยา : เคมีในสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย

    บทที่ 1 แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล ตอนที่ 1 

    บทที่ 2 แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล ตอนที่ 2 

    บทที่ 3 สารอินทรีย์และหมู่ฟังก์ชัน 

    บทที่ 4 คาร์โบไฮเดรต : มอนอแซคคาไรด์ ตอนที่ 1 

    บทที่ 5 คาร์โบไฮเดรต : มอนอแซคคาไรด์ ตอนที่ 2 

    บทที่ 6 คาร์โบไฮเดรต : โอลิโกแซคคาไรด์ 

    บทที่ 7 คาร์โบไฮเดรต : พอลิแซคคาไรด์ 

    บทที่ 8 โปรตีน : กรดอะมิโน 

    บทที่ 9 โปรตีน : พอลิเพปไทด์และโปรตีน 

    บทที่ 10 โปรตีน : โครงสร้างของโปรตีน 

    บทที่ 11 ลิพิด : กรดไขมัน 

    บทที่ 12 ลิพิด : ไตรแอซิลกลีเซอรอล ฟอสโฟลิพิด และสเตอรอยด์ 

    บทที่ 13 กรดนิวคลีอิก

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะเป็นคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 100 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถดาวน์โหลด Certificate บนหน้ารายวิชาได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานเคมี 

    2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของสารชีวเมโลกุลทั้ง 4 ชนิด  

    3. เพื่อต่อยอดในการเรียนรู้วิชาชีววิทยาในระดับที่สูงขึ้นไปของผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง 

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้มากกว่า 1 ครั้ง หรือจนกว่าจะสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด และได้รับ Certificate

อาจารย์ผู้สอน

    • ผศ. ดร.ศุภณัฐ ไพโรหกุล

    • ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล

      คณะวิทยาศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย