วิธีการดูแลตนเองเบื้องต้นในผู้ป่วยโรคกระจกตาและผิวดวงตา

  • โดย : คณาจารย์จากภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รหัส : CHULAMOOC5023
  • หมู่ :
    สุขภาพ
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 3 พฤศจิกายน 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 31 ธันวาคม 2566
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน พฤษภาคม 2564
  • สิ้นสุดการเรียน 30 มิถุนายน 2564
เนื้อหา
10 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

วิชา วิธีการดูแลตนเองเบื้องต้นในผู้ป่วยโรคกระจกตาและผิวดวงตา เนื้อหาวิชาจะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการดูแลตนเองอย่างถูกต้องในผู้ป่วยโรคกระจกตา และผิวดวงตา โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทักษะและสามารถดูแลตนเองในเบื้องต้นเมื่อมีโรคของกระจกตา และผิวดวงตา สามารถประเมินความผิดปกติที่ต้องเข้าพบแพทย์ได้เองในเบื้องตน ตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคของกระจกตาและผิวดวงตาได้อย่างเหมาะสม  

เนื้อหารายวิชา

    หัวข้อวิชา วิธีการดูแลตนเองเบื้องต้นในผู้ป่วยโรคกระจกตาและผิวดวงตา ประกอบด้วย

    บทที่ 1 เรียนรู้สักนิด เพื่อการใช้ยาหยอดตาที่ถูกวิธี 

    บทที่ 2 ดูแลอย่างไร เมื่อเป็นภาวะเยื่อตาอักเสบจากภูมิแพ้ 

    บทที่ 3 ดูแลอย่างไร เมื่ออยู่ในภาวะตาแห้ง 

    บทที่ 4 ดูแลอย่างไร เมื่ออยู่ในภาวะต่อมไขมันเปลือกตาผิดปกติ 

    บทที่ 5 ดูแลอย่างไร เมื่ออยู่ในภาวะเยื่อบุตาติดเชื้อ 

    บทที่ 6 การผ่าตัดต้อเนื้อ 

    บทที่ 7 ดูแลอย่างไร เมื่อใส่เลนส์สัมผัสขนาดใหญ่ 

    บทที่ 8 ดูแลอย่างไร ก่อนผ่าตัดแก้ไขสายตา 

    บทที่ 9 ดูแลอย่างไร เมื่อไปเลเซอร์แก้ไขสายตา 

    บทที่ 10 ดูแลอย่างไร หลังผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา 

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป จึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้ 

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคของกระจกตาและผิวดวงตาที่พบบ่อย 

    2. เพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคของกระจกตาและผิวดวงตาที่พบบ่อย 

    3. เพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงวิธีการดูแลเบื้องต้นในโรคกระจกตาและผิวดวงตาที่พบบ่อย 

    4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้และดูแลเลนส์สัมผัสได้อย่างถูกต้อง 

    5. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเตรียมตัวและดูแลตนเองก่อนผ่าตัดแก้ไขสายตาด้วยเลเซอร์และผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาได้ 

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น 

อาจารย์ผู้สอน

    • รศ. พญ.วิลาวัณย์ พวงศรีเจริญ

    • ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ 

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

    • ศ. พญ.งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ

    • ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • รศ.(พิเศษ) พญ.อุษณีย์ เหรียญประยูร  

    • ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • อ. พญ.วรรณรัตน์ สาธิตพิฐกุล  

    • ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • อ. พญ.ธนัชพร กิตติพิบูลย์

    • ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ