แนวทางการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  • โดย : ผศ.สรายุทธ ทรัพย์สุข
  • รหัส : CHULAMOOC2017
  • หมู่ :
    เทคโนโลยี
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 5 สิงหาคม 2565
  • สิ้นสุดการเรียน 30 กันยายน 2565
เนื้อหา
8 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

แนวทางการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะมีเนื้อหาวิชาให้ความรู้แก่ นิสิต นักศึกษา นักออกแบบและประชาชนทั่วไป ด้านความเข้าใจในเรื่องบ้านประหยัดพลังงานอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แนวทางการออกแบบ และตัวอย่างการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานที่ได้จากการประกวด ตลอดจนให้ประชาชนสามารถ download แบบก่อสร้างบ้าน เอกสารแนะนำด้านการประหยัดพลังงานและราคากลางเพื่อนำไปพัฒนาใช้ได้จริง

หัวข้อวิชา แนวทางการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพลังงานและสิ่งแวดล้อม

บทที่ 2 เทคโนโลยีการประหยัดพลังงานและการออกแบบอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

บทที่ 3 บ้านประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในต่างประเทศ

บทที่ 4 เรือนพื้นถิ่น และการนำมาประยุกต์ใช้

บทที่ 5 สภาพแวดล้อมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน

5.1 สภาพแวดล้อมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน ตอนที่ 1

5.2 สภาพแวดล้อมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน ตอนที่ 2

บทที่ 6 ตัวอย่างอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

บทที่ 7 ตัวอย่างการออกแบบบ้าน

7.1 ตัวอย่างการออกแบบบ้านโดยสถาปนิก คุณราชิด

7.2 ตัวอย่างการออกแบบบ้านโดยสถาปนิก คุณจิรเวช

7.3 ตัวอย่างการออกแบบบ้านโดยสถาปนิก คุณคำรน

7.4 ตัวอย่างการออกแบบบ้านโดยสถาปนิก คุณรักศักดิ์

7.5 ตัวอย่างการออกแบบบ้านโดยสถาปนิก คุณอมตะ

บทที่ 8 การประกวดออกแบบบ้านประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน อาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
    2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาใช้ได้จริง

เกณฑ์การวัดและประเมินผลในรายวิชา

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะเป็นคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 100 คะแนน

ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

หมายเหตุ

    1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
    2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • ผศ.สรายุทธ ทรัพย์สุข
    • ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ