ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับรายวิชา
รายวิชา การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เป็นการนำเอาผลงานวิจัยมาเผยแพร่ให้เป็นประโยชน์ในวงกว้าง งานวิจัยนี้เป็นการบูรณาการความรู้หลายสาขาวิชาเพราะการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มีหลายมิติที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน วิชานี้พัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตที่จะมาถึง ที่มุ่งสู่การสร้างเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ตระหนักถึงความไม่แน่นอนของการท่องเที่ยวกระแสหลัก หากการท่องเที่ยวจำเป็นต้องปรับตัววิชานี้ก็จะนำไปสู่การแสวงหาและทำความเข้าใจกับรูปแบบการท่องเที่ยวที่หลากหลายออกไป วิชานี้จะเปิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่เราอาจมองข้ามไป โดยมุ่งหวังว่าผู้เรียนจะตระหนักถึงมิติใหม่ของการท่องเที่ยวที่ขยายขอบเขตออกไปและสามารถเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง และพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เพื่อให้การท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและมีความยั่งยืนรับมือกับวิกฤตได้ดีขึ้น
เนื้อหารายวิชา
หัวข้อวิชา การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย
บทที่ 1 ทำความรู้จักการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
บทที่ 2 การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในต่างประเทศและประเทศไทย
บทที่ 3 กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
บทที่ 4 การออกแบบผลิตภัณฑ์จากทุนวัฒนธรรมเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ์
บทที่ 5 ทักษะการประชาสัมพันธ์และการตลาด
บทที่ 6 ถอดบทเรียนจากผู้ประกอบการและชุมชนท่องเที่ยว
บทที่ 7 การประเมินศักยภาพชุมชนและส่งเสริฒการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
บทที่ 8 การท่องเที่ยวเปลี่ยนโลก : สร้างสรรค์ ยั่งยืน ทั่วถึงปลอดภัย
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทั้งต่างประเทศและในประเทศได้อย่างถูกต้อง
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถมีความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม
3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์และการตลาดได้อย่างถูกต้อง
หมายเหตุ
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
อาจารย์ผู้สอน
ศ. ดร.ฉันทนา หวันแก้ว
สถาบันเอเชียศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศ. ดร.ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์
คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศ. ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล
คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ. ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา
คณะนิเทศศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ. ดร.นฤมล อรุโณทัย
สถาบันวิจัยสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ
คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. ดร.ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน
คณะนิเทศศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย