การสื่อสารในภาวะวิกฤต

  • โดย : รศ. ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา
  • รหัส : CHULAMOOC3016
  • หมู่ :
    การจัดการ
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 3
  • เริ่มลงทะเบียน 8 มีนาคม 2567
  • สิ้นสุดการเรียน 30 เมษายน 2567
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 2 มิถุนายน 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 31 กรกฎาคม 2566
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 5 สิงหาคม 2565
  • สิ้นสุดการเรียน 30 ตุลาคม 2565
เนื้อหา
15 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

รายวิชา การสื่อสารในภาวะวิกฤต จะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับความหมายของการจัดการความขัดแย้ง การดำเนินการจัดการความขัดแย้ง การจัดการภาวะวิกฤต และกรณีศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจ และสามารถวางแผนและดำเนินการสื่อสารในภาวะวิกฤต รวมทั้งตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมได้

เนื้อหารายวิชา

    เนื้อหารายวิชา การสื่อสารในภาวะวิกฤต ประกอบด้วย

    บทที่ 1 วิกฤติคืออะไร

    บทที่ 2 วงจรและการจัดการความขัดแย้ง

    บทที่ 3 แนวทางที่ใช้ในการจัดการความขัดแย้ง

    บทที่ 4 การจัดการความขัดแย้ง

    บทที่ 5 การสร้างบรรยากาศการสื่อสาร

    บทที่ 6 ประเภทของวิกฤต

    บทที่ 7 ระยะการสื่อสารวิกฤต

    บทที่ 8 ขั้นตอนในการบริหารประเด็น

    บทที่ 9 การสื่อสารความเสี่ยง

    บทที่ 10 การจัดการสื่อสารในภาวะวิกฤต

    บทที่ 11 กลยุทธ์การโต้วิกฤต

    บทที่ 12 การสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

    บทที่ 13 การเลือกใช้สื่อ

    บทที่ 14 การตั้งทีมงานเฉพาะกิจและแต่งตั้งโฆษก

    บทที่ 15 การดำเนินการหลังวิกฤต

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้นในการสื่อสารในภาวะวิกฤต

    2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวางแผน และดำเนินการสื่อสารในภาวะวิกฤตได้

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • รศ. ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา

    • ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ