วิทยาการคำนวณ: การประยุกต์ใช้ความรู้และการใช้ MineCraft ในการเรียนการสอน

  • โดย : รศ. ดร.อติวงศ์ สุชาโต และ คุณนพดล รัตนวิเศษรัตน์
  • รหัส : CHULAMOOC2020
  • หมู่ :
    เทคโนโลยี
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 8 ธันวาคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 31 มกราคม 2567
เนื้อหา
16 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

วิชา วิทยาการคำนวณ: การประยุกต์ใช้ความรู้และการใช้ MineCraft ในการเรียนการสอน จะต่อยอดความรู้วิทยาการคำนวณด้วยการประยุกต์ใช้ที่น่าสนใจ โดยในวิชานี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวอย่างการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะวิทยาการคำนวณในสถานการณ์/การทำงานต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ทักษะการโค้ดให้เป็นประโยชน์ ผ่านการสาธิตการเขียนโปรแกรมบนเว็บเพื่อสร้าง Generative Arts และการเขียนโค้ดเพื่อควบคุม MS Excel ให้ทำงานโดยอัตโนมัติ ในครึ่งหลังของวิชาจะเป็นการสาธิตเครื่องมือดิจิทัลที่เป็นประโยชน์ในการออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นแนวคิด Student-centric ด้วยการใช้โปรแกรม MineCraft ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ผู้ใช้ในวัยเรียน และมีผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่องกว่าร้อยล้านรายทั่วโลก

เนื้อหารายวิชา

    หัวข้อวิชา วิทยาการคำนวณ: การประยุกต์ใช้ความรู้และการใช้ MineCraft ในการเรียนการสอน ประกอบด้วย

    บทที่ 1 ทบทวนพื้นฐานวิทยาการคำนวณ  

    บทที่ 2 การใช้ทักษะวิทยาการคำนวณในชีวิต  

    บทที่ 3 ทำงานอัตโนมัติด้วยโค้ด MS Excel  

    บทที่ 4 ทำงานอัตโนมัติด้วยโค้ด Generative Arts  

    บทที่ 5 รู้จักโปรแกรม Minecraft  

    บทที่ 6 Minecraft ฉบับการศึกษา 

    บทที่ 7 ห้องเรียน STEM ใน Minecraft 

    บทที่ 8 ไอเดียชั้นเรียนใน Minecraft 

    บทที่ 9 ชั่วโมงแห่งการโค้ด 

    บทที่ 10 โจทย์โค้ดดังในโลก Minecraft 

    บทที่ 11 แนวทางการสร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ในโลก Minecraft 

    บทที่ 12 ห้องกิจกรรมอเนกประสงค์ในโลก Minecraft 

    บทที่ 13 วางแผนโค้ดด้วยแนวคิดเชิงคำนวณ 

    บทที่ 14 เขียนโค้ดสร้างห้องโดยอัตโนมัติ 

    บทที่ 15 เพิ่ม NPC และกระดานดำในห้องทำกิจกรรม 

    บทที่ 16 สรุปบทเรียน  

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป จึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้ 

วัตถุประสงค์

    เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมผู้เรียนให้สามารถใช้เครื่องมือดิจิทัลในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • รศ. ดร.อติวงศ์ สุชาโต 

    • ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
      คณะวิศวกรรมศาสตร์ 

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

    • คุณนพดล รัตนวิเศษรัตน์ 

    • Customer Success Manager 

    • บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด 

คอร์สแนะนำ