ทันตกรรมผู้สูงอายุขั้นสูง 1

  • โดย : คณาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • รหัส : CHULAMOOC5041
  • หมู่ :
    สุขภาพ
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 1 พฤษภาคม 2568
  • สิ้นสุดการเรียน 31 สิงหาคม 2568
COMING SOON
เนื้อหา
10 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิตทันตแพทย์ นิสิตทันตแพทย์หลังปริญญา ทันตแพทย์ทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille
จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้
7 ชั่วโมง 36 นาที

เกี่ยวกับรายวิชา

รายวิชา ทันตกรรมผู้สูงอายุขั้นสูง 1 เนื้อหาวิชานี้จะนำเสนอเกี่ยวกับการวางแผนการรักษาทางทันตกรรมในผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยพิเศษ ที่มีโรคทางระบบต่าง ๆ ได้แก่ ระบบหลอดเลือดสมองและหัวใจ ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ ระบบเอนโดไครน์และเมตาบอลิสม ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบเลือด ระบบประสาท โรคมะเร็ง โรคซึมเศร้า โรคจิตประสาท และภาวะความบกพร่องทางสติปัญญา รวมทั้งการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาทางทันตกรรม

เนื้อหารายวิชา

    เนื้อหาในรายวิชา ทันตกรรมผู้สูงอายุขั้นสูง 1 ประกอบด้วย

    บทที่ 1 Geriatric syndrome  

    บทที่ 2 Comprehensive geriatric assessment 

    บทที่ 3 Screening in community 

    บทที่ 4 Polypharmacy 

    บทที่ 5 Assessment tools for polypharmacy 

    บทที่ 6 Mental health and communication problems in older adults 

    บทที่ 7 Oral health deterioration and treatment planning concepts 

    บทที่ 8 Personalized care plan 

    บทที่ 9 Dysphagia  

    บทที่ 10 Texture-modified food for chewing and swallowing difficulties

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะเป็นคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 100 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถดาวน์โหลด Certificate บนหน้ารายวิชาได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด และการจำแนกประเภทของการทำหน้าที่ของร่างกายมนุษย์, ภาวะทุพพลภาพ, ความชราภาพ และสภาวะสุขภาพ 

    2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจหลักการทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพทั้งในระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง 

    3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะช่องปากกับสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้มากกว่า 1 ครั้ง หรือจนกว่าจะสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด และได้รับ Certificate

อาจารย์ผู้สอน

    • รศ. ทพญ. ดร.อัญชลี วัชรักษะ

    • ประธานและอาจารย์ประจำหลักสูตรทันตกรรมผู้สูงอายุและการดูแลผู้ป่วยพิเศษ
      คณะทันตแพทยศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ศ. นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล

    • ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
      คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

    • มหาวิทยาลัยมหิดล

    • อ. ภญ.ชิดชนก รุ่งเรือง

    • ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ
      คณะเภสัชศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • อ. นพ. ดร.ชาวิท ตันวีระชัยสกุล

    • ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
      คณะแพทยศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • อ. ทพญ.ปณัทชา วีระพล

    • ภาควิชาทันตกรรมชุมชน
      คณะทันตแพทยศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ผศ. พญ.พิม ตีระจินดา

    • ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
      คณะแพทยศาสตร์ 

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • อ. ดร.วรัญญา เตชะสุขถาวร

    • ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
      คณะสหเวชศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ผศ. ทพ.สรรพัชญ์ นามะโน

    • ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์
      คณะทันตแพทยศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ