อันตรายจากสารเคมีและการบริหารจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี

  • โดย : รศ. ดร.สุรชัย พรภคกุล และ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.)
  • รหัส : CHULAMOOC5040
  • หมู่ :
    สุขภาพ
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

เปิดล่าสุด
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 11 พฤศจิกายน 2567
  • สิ้นสุดการเรียน : ไม่มีกำหนด
เนื้อหา
2 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

รายวิชา อันตรายจากสารเคมีและการบริหารจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี มีการจัดทําขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากสารเคมีและแนวทางการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนิสิต นักวิจัย และบุคลากรที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ และยังได้เล็งเห็นว่าการเผยแพร่รายวิชานี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาคมจุฬาฯ และสังคมในวงกว้าง ในการสร้างความตระหนักและเสริมสร้างทักษะด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นพื้นฐานสําคัญในการทํางานวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกทั้งเนื้อหาในรายวิชาสามารถอิงเทียบกับหลักสูตรการอบรมเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการผลิต การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย 

เนื้อหารายวิชา

    หัวข้อวิชา อันตรายจากสารเคมีและการบริหารจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี ประกอบด้วย

    บทที่ 1 การทํางานในห้องปฏิบัติการอย่างปลอดภัย 

    บทที่ 2 ห้องปฏิบัติการเคมีตามมาตรฐานความปลอดภัย

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะเป็นคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 100 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้ 

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้เข้าใจหลักการบริหารและมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ 

    2. เพื่อเรียนรู้อันตรายในห้องปฏิบัติการและการจัดการห้องปฏิบัติการให้มีสภาพเหมาะสม และข้อกําหนดเมื่อต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี

    3. เพื่อทราบถึงแนวทางการยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการและนําไปปฏิบัติได้ และแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐาน มอก.2677 - 2558 และนําไปปฏิบัติได้  

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้มากกว่า 1 ครั้ง หรือจนกว่าจะสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด และได้รับ Certificate

อาจารย์ผู้สอน

    • รศ. ดร.สุรชัย พรภคกุล

    • ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ดร.องอาจ ธเนศนิตย์

    • ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ดร.ขวัญนภัส สรโชติ

    • ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ