การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน

  • โดย : อ. นพ.ธนดล โรจนศานติกุล และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รหัส : CHULAMOOC5029
  • หมู่ :
    สุขภาพ
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

เปิดล่าสุด
รุ่นที่ 1
  • เรียนได้ตลอดปี 2568
เนื้อหา
6 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

รายวิชา การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน เป็นความรู้และทักษะพื้นฐานที่ประชาชนทั่วไปพึงมี และสามารถทำได้ ซึ่งการเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุฉุกเฉินสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสังคมใหญ่ที่ประกอบด้วยนิสิต คณาจารย์ และบุคลากรจำนวนมาก ดังนั้นหากนิสิต คณาจารย์ และบุคลากรทุกท่านมีความรู้และทักษะในการแจ้งเหตุฉุกเฉิน การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์เบื้องต้นได้นั้น จะเป็นการเพิ่มโอกาสรอดชีวิตและลดภาวะทุพพลภาพแก่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินได้ ดังนั้นหากผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาการแจ้งเหตุฉุกเฉิน การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน การปฐมพยาบาลเหตุฉุกเฉินการแพทย์เบื้องต้น จะส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะสามารถนำไปใช้ช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว เพื่อนร่วมงานและผู้ประสบเหตุในสังคมได้ต่อไป

เนื้อหารายวิชา

    หัวข้อวิชา การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support) ประกอบด้วย

    บทที่ 1 การแจ้งเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ (Medical emergency call for help)

    บทที่ 2 การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานในผู้ป่วยผู้ใหญ่ (Basic CPR and AED Adult for non-health care provider)

    บทที่ 3 การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานในผู้ป่วยเด็ก (Basic CPR and AED Pediatric for non-health care provider)

    บทที่ 4 การช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดฉับพลันเบื้องต้น (Heart attack)

    บทที่ 5 การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเบื้องต้น (Acute stroke)

    บทที่ 6 การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน (Foreign body Upper Airway Obstruction)

เกณฑ์การวัดและประเมินผลในรายวิชา

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และสามารถแจ้งเหตุฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง

    2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน

    3. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะสามารถปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้อง

    4. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจการช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ได้

    5. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะสามารถปฏิบัติการช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ได้

    6. เพื่อให้ผู้เรียนมีความตระหนักและจิตสาธารณะในการช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีพบเหตุฉุกเฉินการแพทย์

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • อ. นพ.ธนดล โรจนศานติกุล

    • ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

      คณะแพทยศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • คณะแพทยศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ