ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับรายวิชา
วิชา พสุธากัมปนาท จะนำเสนอเกี่ยวกับสาเหตุของแผ่นดินไหว เครื่องมือตรวจวัดการสั่นสะเทือน การวิเคราะห์จุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ระบบเตือนภัย และการบรรเทาภัยพิบัติแผ่นดินไหว เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เมื่อเกิดสถานการณ์จริงได้
เนื้อหารายวิชา
หัวข้อวิชา พสุธากัมปนาท ประกอบด้วย
บทที่ 1 แผ่นดินไหวและสาเหตุ
บทที่ 2 พิบัติภัยแผ่นดินไหว
บทที่ 3 สึนามิ
บทที่ 4 เครื่องมือตรวจวัดและคลื่นไหวสะเทือน
บทที่ 5 การวิเคราะห์จุดศูนย์เกิดและขนาดแผ่นดินไหว
บทที่ 6 มาตราตรวจวัดแผ่นดินไหว
บทที่ 7 การพยากรณ์แผ่นดินไหว
บทที่ 8 ระบบเตือนภัย
บทที่ 9 การบรรเทาพิบัติภัยแผ่นดินไหว
บทที่ 10 ภูมิลักษณ์ของรอยเลื่อน
บทที่ 11 แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจสาเหตุและพิบัติภัยจากแผ่นดินไหว
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประเมินข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวเบื้องต้น
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจระบบการเตือนภัยแผ่นดินไหว
4. เพื่อให้ผู้เรียนทราบวิธีการเตรียมความพร้อม
หมายเหตุ
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
อาจารย์ผู้สอน
ศ. ดร.สันติ ภัยหลบลี้
ภาควิชาธรณีวิทยา
คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย