Basic First Aid for Medical Emergency

  • โดย : อ. นพ.ธนดล โรจนศานติกุล
  • รหัส : CHULAMOOC5020
  • หมู่ :
    สุขภาพ
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

เปิดล่าสุด
รุ่นที่ 4
  • เรียนได้ตลอดปี 2568
รุ่นที่ 3
  • เรียนได้ตลอดปี 2567
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน กันยายน 2564
  • สิ้นสุดการเรียน 31 ตุลาคม 2564
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน มกราคม 2564
  • สิ้นสุดการเรียน 28 กุมภาพันธ์ 2564
เนื้อหา
13 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

รายวิชาการช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์เบื้องต้น (Basic First aids for medical emergency)  เป็นการเผยแพร่ความรู้เรื่องการช่วยเหลือผู้ป่วยหรือการปฐมพยาบาลผู้ป่วยเบื้องต้นว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในชีวิตประจำวัน    และเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย สำหรับวิชาที่จะผลิตสื่อการเรียนการสอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการนำเสนอความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แก่ นิสิตและประชาชนทั่วไป  ให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานเพื่อสามารถทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ จากกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุฉุกเฉิน เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสรอดชีวิต และลดภาวะทุกพลภาพแก่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุฉุกเฉิน โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย การทำ CPR  การใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้า (AED)  การช่วยเหลือผู้ป่วยในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตย์  ผู้ป่วยสำลัก ผู้ป่วยภาวะชัก รวมถึงผู้ป่วยเด็กทารก และเด็กโต เป็นต้น

เนื้อหารายวิชา

    หัวข้อวิชา Basic First aids for medical emergency

    1. Basic CPR & AED for non-health care provider  (การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนทั่วไป)

    2. Scene safety for medical emergency first aids (หลักความปลอดภัยของการเข้าช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน)

    3. Medical emergency call for help (การแจ้งเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์)

    4. Recognize and first aids acute stroke (การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเบื้องต้น)

    5. First aids : heart attack (การช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดฉับพลันเบื้องต้น

    6. First aids : choking (การช่วยเหลือผู้ป่วยทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้น)

    7. First aids : seizure (การช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ป่วยภาวะชัก)

    8. First aids : accident (การช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บเบื้องต้น)

    9. First aids : heat stroke (การช่วยเหลือเบื้องต้นในผู้ป่วยภาวะลมร้อน)

    10. First aids : high fever child (การช่วยเหลือเด็กมีไข้สูงเบื้องต้น)

    11. Basic CPR for pediatrics (การช่วยเหลือคืนชีพผู้ป่วยเด็ก)

    12. First aids : fracture (การช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บกระดูกหักเบื้อง


เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นระดับประชาชนทั่วไปได้  

    2. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะสามารถปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นระดับประชาชนทั่วไปได้

    3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจการช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ได้

    4. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะสามารถปฏิบัติการช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ได้

    5. เพื่อให้ผู้เรียนมีความตระหนักและจิตสาธารณะในเรื่องการช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีพบเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • อ. นพ.ธนดล โรจนศานติกุล
    • ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์
    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ